การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HCT-116 และ HT-29 ของสารสกัด*จากพืชที่มีสารแอนโทไซยานินในปริมาณสูงจำนวน 11 ชนิด ได้แก่ (1) องุ่นแดง, (2) องุ่นม่วง, (3) มันม่วง, (4) แครอทม่วง, (5) ถั่วดำ, (6) ถั่วแขกม่วง, (7) ถั่วเลนทิลดำ, (8) ถั่วลิสงดำ, (9) ข้าวฟ่าง, (10) ข้าวดำ และ (10) ข้าวสาลีสีฟ้า พบว่าสารสกัดจากถั่วเลนทิลดำ, ข้าวฟ่าง, และองุ่นแดงมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ HCT-116 และ HT-29 ได้ดี โดยความสามารถในการออกฤทธิ์มีความสัมพันธ์กับผลรวมของสารฟีนอลิกในพืช โดยสาร delphinidin-3-O-glucoside (เป็นสารในกลุ่มแอนโทไซยานิน) สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ HT-29 ได้ดีมาก โดยค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งทั้ง 2 ชนิดได้ ร้อยละ 50 (IC50) ของสารสกัดจากถั่วเลนทิลดำ, ข้าวฟ่าง, และองุ่นแดง อยู่ในช่วง 0.9 2.0 มก./มล. (ยา oxaliplatin ซึ่งใช้ในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มีค่า IC50 ต่อเซลล์ HCT-116 และ HT-29 เท่ากับ 13.5±0.7 และ 18.4±2.3 มคก./มล. ตามลำดับ) กลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดดังกล่าว คือ ลดการแสดงออกของโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการตายของเซลล์แบบอะพอพโตซิส (anti-apoptotic proteins) ได้แก่ survivin, cIAP-2, XIAP และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบอะพอพโตซิส รวมทั้งขัดขวางกระบวนการแบ่งเซลล์ในระยะ G1 นอกจากนี้การทดสอบแบบ in silico ยังพบว่าสารแอนโทไซยานินมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase (เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของเซลล์) โดยสาร cyanidin-3-O-glucoside สามารถจับกับ tyrosine kinase ทุกชนิดได้ดี โดยเฉพาะกับชนิด Abelson tyrosine-protein kinase 1; ABL1 นอกจากนี้ สาร cyanidin-3-O-glucoside และ delphinidin-3-O-glucoside ยังสามารถยับยั้งการทำงานของ epidermal growth factor receptor; EGFR (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างหลอดเลือดที่มาหล่อเลี้ยงเซลล์) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.10 และ 2.37 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า สารแอนโทไซยานินโดยเฉพาะ cyanidin-3-O-glucoside และ delphinidin-3-O-glucoside ซึ่งพบได้มากในพืชที่มีสีม่วงแดง มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งน่าจะสามารถนำไปพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได
Food Chem. 2018;242:37888.