การบริโภคสตรอว์เบอร์รีต้านกระบวนการแก่ชราผ่านการทำงานของไมโตคอนเดรียและการต้านออกซิเดชัน

การประเมินตัวชี้วัดทางชีวภาพของความเสียหายที่เกิดจากกระบวนการออกซิเดชัน (biomarkers of oxidative damage) รวมถึงการลดลงของการสร้างและการทำงานของไมโตครอนเดรีย อันเนื่องมาจากความแก่ชรา ของการบริโภคสตรอว์เบอร์รี (Fragaria ananassa สายพันธุ์ Alba) โดยทำการทดสอบในหนูแรทชราเพศผู้ อายุ 19 - 21 เดือน จำนวน 16 ตัว โดยแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 ให้กินอาหารมาตรฐาน และกลุ่มที่ 2 ให้กินอาหารมาตรฐานที่มีส่วนผสมของผงผลสตรอว์เบอร์รีที่ทำแห้งด้วยวิธี lyophilization ที่มีการควบคุมปริมาณฟีนอลิกรวม ฟลาโวนอยด์รวม วิตามินซี รูปแบบของแอนโธไซยานินที่เป็นองค์ประกอบ และการต้านออกซิเดชันโดยรวม ทดแทนในปริมาณร้อยละ 15 ของพลังงานทั้งหมด (แคลอรี) ที่ได้จากอาหาร โดยควบคุมให้สารอาหารทั้งหมดที่ได้รับของหนูทั้งสองกลุ่มนั้นเท่ากัน ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าการเสริมอาหารด้วยผงผลสตรอว์เบอร์รี เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ เช่น catalase, superoxide dismutase, glutathione peroxidase, glutathione reductase, และ glutathione transferase เพิ่มปริมาณและการทำงานของไมโตครอนเดรีย และลดระดับของ reactive oxygen species ภายในเซลล์ รวมทั้งลดตัวชี้วัดทางชีวภาพของความเสียหายของโปรตีน ไขมัน และ DNA อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การบริโภคสตรอว์เบอร์รียังเพิ่มการแสดงออกของ AMP-activated protein kinase (AMPK) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างและการทำงานของไมโตครอนเดรีย รวมทั้งการต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย นอกจากนี้การทดสอบในหลอดทดลองของเซลล์มะเร็งตับ (HepG2) ยืนยันว่าการได้รับสตรอเบอร์รีมีผลดีในการต้านการเกิดกระบวนการแก่ชรา โดยผลนั้นมาจากการเพิ่มการแสดงออกและกระตุ้นการทำงานของ AMPK

Food Chem. 2017;234:464–71.