ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Cytochrome P450 ชนิด CYP3A4 และ CYP1A2 ของมะตูม

การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Cytochrome P450 ชนิด CYP3A4 และ CYP1A2 ของสารสกัดเมทานอล สารสำคัญในกลุ่ม furanocoumarins (marmelosin, marmesinin) และสารแอลคาลอยด์ (aegeline) ที่แยกได้จากส่วนผลของมะตูม [Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb.] ในไมโครโซม (microsome) จากตับมนุษย์ พบว่าสารสกัดเมทานอลของผลมะตูมสามารถยับยั้ง CYP3A4 แบบแข่งขัน (Competitive inhibition) โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ได้ 50% (IC50) เท่ากับ 5 มคก./มล. และมีค่าคงที่ของการยับยั้ง (Inhibition constant; Ki) เท่ากับ 3.4 มคก./มล. และยับยั้ง CYP1A2 แบบไม่แข่งขัน (Non-competitive inhibition) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.8 มคก./มล. และมีค่า Ki เท่ากับ 0.5 มคก./มล. สาร marmelosin แสดงฤทธิ์ยับยั้งได้ดีที่สุด ทั้งต่อ CYP3A4 และ CYP1A2 โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 2.4 และ 0.2 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ และมีค่า Ki เท่ากับ 0.9 และ 0.3 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ส่วนสาร marmesinin สามารถยับยั้ง CYP3A4 ได้ในระดับปานกลาง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 29 ไมโครโมลาร์ และค่า Ki เท่ากับ 23 ไมโครโมลาร์ แต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง CYP1A2 ในขณะที่สาร aegeline สามารถยับยั้ง CYP3A4 ได้อย่างอ่อน โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 76 ไมโครโมลาร์ และไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง CYP1A2 จากผลการทดลองดังกล่าวทำให้สามารถสรุปได้ว่า มะตูมมีฤทธิ์ยับยั้ง CYP3A4 และ CYP1A2 ทั้งในส่วนของสารสกัดเมทานอลและสารสำคัญ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้ยาในกลุ่มที่ต้องใช้เอนไซม์ Cytochrome P450 ชนิด CYP3A4 และ CYP1A2 ในการกำจัดยาออกจากร่างกาย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาและสมุนไพร

Planta Med 2015;81:PP10