ศึกษาฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของสารสกัดเอทานอลจากผลกระชับในหนูแรทเพศผู้ โดยแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มที่ 2 - 5 เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณกระดูกฝ่าเท้าด้วยวิธี Complete Freunds Adjuvant จากนั้น กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม ส่วนกลุ่มที่ 3 และ 4 ป้อนสารสกัดเอทานอลผลกระชับขนาดวันละ 300 และ 75 มก./กก. น้ำหนักตัว ตามลำดับ และในกลุ่มที่ 5 ให้ยา methotrexate ขนาด 3 มก./กก. น้ำหนักตัว 2 ครั้ง/สัปดาห์ ทำการศึกษานาน 28 วัน วัดอาการบวมของผ่าเท้าหนูด้วยวิธี electronic water plethysmographicall ในวันที่ 0, 7, 14, 21 และ 28 ของการทดลอง เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมี และทำการแยกเก็บตัวอย่าง ต่อมไทมัส ม้าม กระดูกข้อต่อบริเวณหัวเข่าและอุ้งเท้า เพื่อตรวจวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงด้วยเทคนิคทางจุลกายวิภาคศาสตร์ ผลจากการทดลองพบว่า สารสกัดเอทานอลผลกระชับสามารถลดอาการอักเสบ โดยหนูกลุ่มที่ถูกป้อนด้วยสารสกัด เอทานอลผลกระชับลดอาการบวมของฝ่าเท้าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดเอทานอลผลกระชับทั้งสองขนาดมีผลลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบได้แก่ interleukin 1-β, cyclooxygenase-2, 5-lipoxygenase, และ tumor necrosing factor-α และมีผลเพิ่มการแสดงออกของ interleukin-10 ซึ่งเป็นโปรตีนที่บ่งชี้ถึงภาวะที่มีการยับยั้งกระบวนการอักเสบ ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดเอทานอลจากผลกระชับมีฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบได้
J Ethnopharmacol. 2014; 155(1): 248-55