เมื่อนำสารสกัดอะซีโตนจากผลอ่อนของชะมวง (Garcinia cowa ) มาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี พบว่าประกอบด้วยสารในกลุ่ม tetraoxygenated xanthones ได้แก่ garcicowanones A และ B ซึ่งเป็นสารที่ค้นพบใหม่ และที่เคยมีรายงานมาก่อน ได้แก่ α-mangostin, β-mangostin, 9-hydroxycalaba-xanthone, fuscaxanthone A, cowaxanthone D, cowanin, , cowagarcinone E และ rubraxanthone เมื่อนำสารเหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวก (Bacillus cereus TISTR 688, Bacillus subtilis TISTR 008, Micrococcus luteus TISTR 884, Staphylococcus aureus TISTR 1466) และแกรมลบ (Escherichia coli TISTR 780, Pseudomonas aeruginosa TISTR 781, Salmonella typhimurium TISTR 292, Staphylococcus epidermidis ATCC 12228) พบว่าสารส่วนใหญ่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแกรมลบ โดยสาร α-mangostin จะมีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกทั้ง B. cereus , B. subtilis และ M. luteus โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ต้านเชื้อแบคทีเรีย (MIC) อยู่ในช่วง 0.25-1 มคก./มล. ส่วนสาร garcicowanone A และ β-mangostin แสดงฤทธิ์ที่ดีเช่นกันในการยับยั้งเชื้อ B. cereus โดยมีค่า MIC เท่ากับ 0.25 มคก./มล.
Fitoterapia 2014;98:179-183.