ฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ (Quassia amara )

การศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วย nicotinamide-streptozotocin ด้วยการป้อนสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ขนาดวันละ 100 มก. / กก. และ 200 มก. / กก. เปรียบเทียบกับการป้อนด้วยยา glibenclamide 10 มก. / กก. นาน 14 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากหนูทุกกลุ่ม เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาล โคเลสเตอรอล LDL-C (Low density lipoprotein cholesterol) HDL-C (high density lipoprotein cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ ผลการศึกษาพบว่าหนูกลุ่มที่ถูกป้อนด้วยสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ทั้งสองขนาด และหนูที่ถูกป้อนด้วยยา glibenclamide มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL-C ที่เพิ่มขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วย nicotinamide-streptozotocin อย่างไรก็ตามการป้อนด้วยสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของ HDL-C และระดับฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ glibenclamide มีผลเพิ่มปริมาณ HDL-C และระดับฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากต้นประทัดใหญ่มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน และช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้

Phytother Res. 2011; 25: 1806-12