สารสำคัญในไพลกับฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

การทดสอบฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดไพลแห้งบดด้วยเมทานอลในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยกรดไฮโครคลอริก 95% เอทานอล และอินโดเมทาซิน พบว่าสารสกัดไพลด้วยเมทานอลขนาด 200 และ 400 มก./กก. สามารถต้านการเกิดแผลที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยกรดไฮโครคลอริกได้ 61.97% และ 83.10% ตามลำดับ นอกจากนี้สารซีรัมโบน (zerumbone) ในไพลขนาด 20 และ 40 มก./กก. สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เหนี่ยวนำด้วยด้วยกรดไฮโครคลอริก 95% เอทานอล และอินโดเมทาซิน ได้เท่ากับ 45.77% และ 92.25%, 29.07 และ 45.35%, 64.76 และ 72.38% ตามลำดับ เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน omeprazole ขนาด 30 มก./กก. ที่สามารถยับยั้งการเกิดแผลที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยกรดไฮโครคลอริกได้เพียง 38.03% ในขณะที่ยา Lansoprazole ขนาด 30 มก./กก. สามารถยับยั้งการเกิดแผลที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย 95% เอทานอล ได้เพียง 37.21% และยา sucrafate สามารถยับยั้งการเกิดแผลที่เหนี่ยวนำด้วยอินโดเมทาซินได้ 52.38% จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า สารซีรัมโบน (zerumbone) ในไพลมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยกรดไฮโครคลอริก 95% เอทานอล และอินโดเมทาซินได้ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นยาต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

J Ethnopharmacol 2012;141:57-60.