ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสของกิ่งและเปลือกรากหม่อน

การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลจากกิ่งและเปลือกรากของหม่อน ด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) นั้นพบว่าสารสกัดเอทานอลจากกิ่งของต้นหม่อนที่ความเข้มข้น 100 มคก./มล. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมากกว่าสารสกัดเอทานอลจากเปลือกรากของต้นหม่อน 2.3 เท่า และเมื่อทำการวิเคราะห์สารสกัดเอทานอลจากกิ่งของต้นหม่อนด้วยวิธี high performance liquid chromatography (HPLC) พบว่าสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเป็นสารในกลุ่มฟีโนลิค ได้แก่ maclurin, rutin, isoquercitrin, resveratrol และ morin ซึ่งสารดังกล่าวที่ความเข้มข้น 20 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเอนไซม์ superoxide เท่ากับ 42.0%, 35.7%, 38.9%, 17.9% และ 46.2% ตามลำดับ โดยที่สาร morin มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ superoxide ที่เป็นอนุมูลอิสระได้มากที่สุด นอกจากนี้สารสกัดเอทานอลจากกิ่งของต้นหม่อนที่ความเข้มข้น 300 มคก./มล. ยังมีฤทธิ์ต้านการเกิด lipid peroxidation ในหลอดทดลองด้วย และ สารสกัดเอทานอลจากกิ่งและเปลือกรากของต้นหม่อนที่ความเข้มข้น 0 - 60 มคก./มล. มีฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ 0 - 78% และ 0-62% ตามลำดับ จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัดเอทานอลจากกิ่งของต้นหม่อนเป็นสารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ดี

Food and Chemical Toxicology 2011;49:785-90.