สารทดแทนเกลือจากพืช

รสเค็มที่เราได้จากการบริโภคเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) มีความสำคัญต่อระบบรับความรู้สึกของมนุษย์ แต่การบริโภคเกลือมากเกินไปจะทำให้ระดับโซเดียมในเลือดสูงขึ้น และเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาสารทดแทนเกลือที่มีระดับโซเดียมต่ำ โดยการนำพืชจำนวน 13 ชนิด ซึ่งประกอบด้วยผลแห้งของ Magnolia (Schizandra chinensis  ) ผลแห้งของเกากีฉ่าย (Lycium chinensis  ) ทั้งต้นของ Mushroom (Lemtinus sedodes  ) ใบแห้งของสะระแหน่ญี่ปุ่น (Mentha arvensis  L) ใบแห้งของ Sea tangle (Laminaria japonica  ) ใบแห้งของ Salicornia หรือ saltwort (Salicornia herbacea  L) เหง้าแห้งของขิง (Zingiber offcinale  ) หัวแห้งของ Yam (Dioscorea batatas  ) ต้นสดของ Green onion (Allium filstulosum  ) หัวผักกาดสด (Rhaphanus sarivus  L) หัวหอมใหญ่สด (Allium cepa  L) กระเทียมสด (Allium sativum  ) และใบสดของ Napa cabbage (Brassica campestris  ) มาสกัดด้วยน้ำ แล้วนำไปการประเมินผลทางประสาทสัมผัส (sensory evaluation) พบว่าพืช 3 ชนิดคือ Salicornia, Sea tangle และเกากีฉ่าย ให้รสเค็มและรสอร่อยที่ดี เมื่อนำสารสกัดทั้ง 3 มาทำให้อยู่ในรูปแบบของผงแห้ง (Spray-dried) เพื่อนำไปพัฒนาเป็นสารให้ความเค็มจากพืช (plant salt substitute; PSS) โดยให้มีส่วนผสมของผงแห้งจาก Salicornia, Sea tangle และเกากีฉ่ายในสัดส่วน 60, 20 และ 20% ตามลำดับ จากการคำนวณพบว่าความเค็มของ 1%NaCl เทียบเท่ากับ 1.55% PSS นั่นคือ relative saltiness ของ PSS ต่อ NaCl เท่ากับ 0.65 และเมื่อระดับความเค็มของ PSS เท่ากับ NaCl พบว่าใน PSS มีโซเดียมอยู่น้อยกว่า NaCl 43% จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ PSS เป็นสารให้ความเค็มแก่อาหารที่ต้องการปริมาณโซเดียมต่ำได้

Food Research International 2011;44:537–543