ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิม (Punicagra natum ) ซึ่งมีผลเพิ่มระดับเอนไซม์ GSH และลดการเกิด lipid และ protein oxidation ในเลือด

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำทับทิมในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 40 คน โดยให้ดื่มน้ำทับทิมเป็นเวลา 15 วัน และวัดระดับตัวชี้วัดต่างๆ ของการต้านอนุมูลอิสระ ในช่วงเวลาแตกต่างกัน ได้แก่ ช่วงก่อนทำการทดสอบ (T1) ช่วงหลังจากดื่มน้ำทับทิมไปแล้ว 15 วัน (T2) ช่วงหลังจากดื่มน้ำทับทิมครบ 15 วัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ (T3) และ 2 สัปดาห์ (T4) ตามลำดับโดยทำการวัดระดับ total antioxidant capacity (TAC) ระดับ malondialdehyde (MDA) และระดับ protein carbonyls (CARB) ในพลาสมา ซึ่ง MDA และ CARB เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเกี่ยวกับการเกิด lipid oxidation และ protein oxidation ตามลำดับ และวัดระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดอนุมูลอิสระได้แก่ glutathione (GSH) และ catalase (CAT) ในเซลล์เม็ดเลือดแดง ผลการทดสอบพบว่าการดื่มน้ำทับทิมทำให้ระดับ MDA ลดลง 24.4% ในช่วง T3 และ CARB ลดลง 19.6% และ 17.7% ในช่วง T2และ T3 ตามลำดับ สนับสนุนผลการวิจัยที่ระบุว่าการดื่มน้ำทับทิมลดการเกิด lipid peroxidation และ protein oxidation ได้ นอกจากนี้ยังพบว่าระดับ GSH ในเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น 22.6% ในช่วง T2 จึงสรุปได้ว่าการดื่มน้ำทับทิมมีผลต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยังคงอยู่ในร่างกายหลังจากดื่มน้ำทับทิมไปแล้ว 1 สัปดาห์

Food Chem. Toxicol73; 2014: 1-6