คำถาม : กลไกการทำงานและสารสำคัญในฝักคูน- 1. สารสำคัญในคูนมีอะไรบ้าง
2.สารที่มีฤทธิ์ระบายในคูนคือสารใด มีกลไกการทำงานอย่างไร (ขออย่างละเอียดนะค่ะ)
3.การใช้คูนในทางแพทย์แผนปัจจุบันมีหรือไม่ อย่างไร
4.หญ้ายางหรือฤาษีนั่งยองหรือเขยตายหรือผักบุ้งดง คือพืชตัวเดียวกันหรือไม่
มีสรรพคุณอย่างไร มีสารใดเป็นสารสำคัญ
- Date : 4/3/2554 13:30:00
คำตอบ : 1. สารสำคัญที่พบ เช่น afzelechin, aloe emodin, alpha-amyrin, beta-amyrin, anthraquinones, rhein, sennoside A, sennoside B เป็นต้น
2. สารที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายคือ สารกลุ่ม anthraquinones โดยสารเหล่านี้จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ สำหรับการทำงานโดยละเอียดนั้นสามารถมาสืบค้นขอมูลงานวิจัยที่ได้ที่สำนักงานค่ะ
3. ในปัจจุบันยังไม่พบรายงานการนำฝักคูนไปใช้ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
4. ต้นหญ้ายาง เป็นชื่อพ้องของต้นเขยตาย Euphorbia heterophylla L. และไม่พบว่าต้นฤาษีนั่งยองหรือผักบุ้งดงเป็นชื่อพ้องของพืชชนิดใด สำหรับต้นเขยตายนั้นมีสรรพคุณดังนี้ รากกระทุ้งพิษ แก้ฝี ขับน้ำนม แก้พิษงู แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนัง เปลือกและเนื้อไม้ แก้ฝี กระทุ้งพิษ แก้พิษงู ขับน้ำนม ดอกและผล รักษาหิด สารเคมีที่พบ เช่น quercetin tetracetate, phorbols, 15-O-acetyl-3,5-O-dibutanoyl-7-O-nicotinoylmyrsinol, betulin, cycloart-23-one-3,5-diol และ secotaraxerene