การศึกษาอันตรกิริยาของสารสกัดน้ำจากโสมและสารสกัดน้ำผสมกับสารสกัดเอทานอล 95% จากอั่งตังเซียม (Denshen) ต่อยาเคมีบำบัด 5-fluorouracil (5-FU) โดยแบ่งหนูแรทออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ป้อนสารสกัดน้ำจากโสมขนาด 0.81 ก./กก. น้ำหนักตัว กลุ่มที่ 2 ป้อนสารสกัดเอทานอลจากอั่งตังเซียม ขนาด 1.35 ก./กก. น้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 10 วัน (เทียบเท่ากับขนาดที่แนะนำให้รับประทานในคน คือ โสม 9 ก./วัน และ และอั่งตังเซียม 15 ก./วัน) จากนั้นให้ยาเคมีบำบัด 5-FU ขนาด 48 มก./กก. น้ำหนักตัว ฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูแรท ผลการศึกษาพบว่าสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดต่างมีผลต่อยาเคมีบำบัด 5-FU โดยสารสกัดจากโสมมีผลทำให้ยาคงอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น (เพิ่มค่าครึ่งชีวิตในการกำจัดยาออกจากร่างกาย: the elimination half-life) ในขณะที่สารสกัดจากอั่งตังเซียมมีผลเพิ่มการดูดซึมของยา และมีผลลดน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองลง ต่อมานำสารสกัดทั้งสองชนิดไปศึกษาต่อในเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร ไม่พบฤทธิ์การยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเมื่อให้สารสกัดโสมหรือสารสกัดอั่งตังเซียมที่ขนาด 0.1-100 มคก./มล. แต่พบว่าเมื่อให้สารสกัดโสมร่วมกับยาเคมีบำบัด 5-FU จะช่วยเสริมประสทธิภาพของยา 5-FU ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งกะเพาะอาหาร โดยไม่มีผลกับเซลล์ปกติ การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการใช้โสมร่วมกับการให้ยา 5-FU และแนวโน้มการนำสมุนไพรไปใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดในอนาคตได้
Am J Chinese Med 2013;41(2):443