เมื่อให้หนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan กินส่วนสกัดด้วยอีเทอร์และส่วนสกัดด้วย ethyl acetate จากสารสกัดเมทานอลของผลมะระขี้นก ขนาด 500 มก./กก. พบว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดเมื่อเปรียบเทียบกับยา glibenclamide ขนาด 200 มก./กก. และแยกส่วนสกัดทั้ง 2 ด้วยวิธีโครมาโตรกราฟฟี จะได้สารออกฤทธิ์คือ 5b, 19-epoxy-3b, 25-dihydroxycucurbita-6,23(E)-diene และ 3b-7b,25-trihydroxycucurbita-5,23(E)-dien-19-al ซึ่งพบปริมาณสูงในส่วนสกัดทั้งสอง เมื่อให้หนูกินในขนาด 200 มก./กก. มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดหนูเช่นกัน และไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมและยา glibenclamide ขนาด 200 มก./กก. (ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 91.0, 88.6, 92.4 และ 98.0 มก./ดล. ตามลำดับ) และสารในขนาด 400 มก./กก. จะออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ผลดี
Chem Pharm Bull 2006;54(7):1017-21