ผลต่อสุขภาพในช่องปากของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าของพืชในวงศ์ขิง

การศึกษาน้ำมันหอมระเหยจากส่วนเหง้าของพืชในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นขาว (Curcuma manga), ว่านชักมดลูก (Curcuma xanthorrhiza), เปราะหอม (Kaempferia galangal) และว่านมหาเมฆ (Curcuma aeruginosa) โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบน้ำมันหอมระเหยด้วยเครื่อง gas chromatography/mass spectrometry (GC/MS) และ gas chromatography with flame ionisation detection (GC-FID) พบว่า ขมิ้นขาว, ว่านชักมดลูก, เปราะหอม และว่านมหาเมฆ มีเป็นส่วนประกอบหลักคือ β-myrcene (79.77 %), ethyl-cinnamate (40.14 %), β-curcumene (34.90 %), และ alloaromadendrene (25.15 %) ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้แก่ Streptococcus mitis, Streptococcus sanguinis และ Streptococcus mutans ด้วยวิธี disc diffusion test พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากว่านชักมดลูกยับยั้งเชื้อ S. mitis และ S. sanguinis ได้ดีที่สุด โดยมีโซนยับยั้ง (inhibition zones) เท่ากับ 19.50 และ 15.04 มม. ตามลำดับ ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นขาวยับยั้งเชื้อ S. mutans ได้ดีที่สุด โดยมีโซนยับยั้งเท่ากับ 12.55 มม. ในขณะที่ยาม้วนปากมาตรฐาน Oradex (มี chlorhexidine เป็นส่วนประกอบหลัก) มีโซนยับยั้งต่อเชื้อทั้ง 3 ชนิดเท่ากับ 21.46, 19.51, และ 15.89 มม. ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งช่องปากชนิด H103 และ ORL-204 ด้วยวิธี MTT viability assay พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากพืชทั้ง 4 ชนิด ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ทั้ง 2 ชนิดได้ปานกลาง โดยมีค่า IC50 อยู่ระหว่าง 24.97 – มากกว่า 30 มคก./มล. ในขณะที่ยามาตรฐาน cisplatin มีค่า 1.13 และ 1.39 มคก./มล. ตามลำดับ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า น้ำมันหอมระเหยจากส่วนเหง้าของว่านชักมดลูกและขมิ้นขาวออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้ดี อาจนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลสุขภาพในช่องปากได้

Chem Biodivers. 2024;21(3):e202301836. doi: 10.1002/cbdv.202301836.