ฤทธิ์ต้านความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) จากสารสำคัญของเป่ยเช่า

การศึกษาฤทธิ์ต้านความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (Posttraumatic stress disorder; PTSD) จากสาร albiflorin ซึ่งแยกได้จากส่วนรากของเป่ยเช่าหรือโบตั๋นจีน (Paeonia lactiflora Pall) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ PTSD ด้วยโมเดล single prolonged stress (SPS) โดยกรอกสาร albiflorin เข้าทางกระเพาะอาหารของหนูวันละครั้ง ในขนาด 3.5, 7 และ 14.0 มก./กก. หลังจากการทำให้เกิดภาวะเครียดด้วย SPS เป็นเวลานาน 12 วัน (วันที่ 2 - 13 ) ทำการประเมินพฤติกรรมของหนูเช่นความกลัว และวิตกกังวล ด้วย contextual fear paradigm (CFP) ในวันที่ 8 และ 9, elevated plus-maze test (EPMT) ในวันที่ 11 และ open-field test (OFT) ในวันที่ 13 หลังจากจบการทดลองหนูจะถูกฆ่าและทำการวัดระดับของสาร allopregnanolone (สาร allopregnanolone มีผลลดความกังวลและลดอารมณ์ซึมเศร้า) ในสมองส่วน prefrontal cortex, hippocampus และ amygdala จากผลการทดลองพบว่าสาร albiflorin ที่ขนาด 7 และ 14.0 มก./กก. ทำให้พฤติกรรมที่ผิดปกติจากการเหนี่ยวนำด้วย SPS ลดลง และทำให้ระดับของสาร allopregnanolone ที่ลดลง กลับเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้สามารถสรุปได้ว่า สาร albiflorin มีฤทธิ์ต้านความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ซึ่งคาดว่ากลไกน่าจะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มการสร้างสาร allopregnanolone ในสมอง

J Ethnopharmacol 2017;198:324-30.