การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันที่แยกได้จากส่วนเหง้าของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) โดยให้หนูแฮมสเตอร์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้หลอดเลือดผิดปกติด้วยการผูกหลอดเลือดคาโรติดบางส่วน (partial carotid ligation; PCL) หรือการเหนี่ยวนำเกิดออกซิเดชั่นด้วยสารเฟอร์ริคคลอไรด์ (FeCl3-induced arterial oxidative injury; Ox-injury) กินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงร่วมกับน้ำมันขมิ้นชันขนาด 100 และ 300 มก./กก. เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากการทดลองพบว่า น้ำมันขมิ้นชันขนาด 300 มก./กก. ทำให้ระดับไขมันในเลือด ไขมันในหลอดเลือด รวมทั้งและการแข็งตัวของหลอดเลือด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการได้รับอาหารไขมันสูง มีระดับลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูงเพียงอย่างเดียว เช่นเดียวกับตัวชี้วัดการอักเสบ เช่น การสะสมของ macrophage metalloproteinase-2 (MMP-2), MMP-9, cluster of differentiation 45 (CD45), TNF-α, interferon-γ (IFN-γ), IL-1β และ IL-6 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการได้รับอาหารไขมันสูง ก็มีระดับลดลงเช่นกัน ในขณะที่ transforming growth factor-β (TGF-β) และ IL-10 ซึ่งเป็นสารที่ช่วยต้านการอักเสบ มีระดับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การศึกษาใน macrophages (แยกจากช่องท้องของหนูแฮมสเตอร์ ใน THP-1 macrophages) ยังพบว่าน้ำมันขมิ้นชันสามารถลดการแสดงออกของ CD68 และ CD36 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเกิด foam-cell และการสะสมของไขมัน รวมทั้งเพิ่มการแสดงออกของ peroxisome proliferator-activated receptors α (PPARα), liver X receptor-α (LXRα), ATP-binding cassette A1 (ABCA1) และ ATP-binding cassette G1 (ABCG1) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญไขมัน จากผลการทดลองทำให้สามารถสรุปได้ว่า น้ำมันขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและต้านการอักเสบโดยมีกลไกการออกฤทธิ์ผ่านการกระตุ้นและยับยั้งการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและสลายไขมันรวมทั้งยับยั้งกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นจากการได้รับอาหารที่มีไขมันสูง
Br J Nutr 2015;113:100-13.