ฤทธิ์ปกป้องตับของสาร non-phenolic diarylheptanoid จากว่านชักมดลูก

เมื่อป้อนสารสกัดเอทานอลจากเหง้าว่านชักมดลูก (Curcuma comosa Roxb.) ขนาด 5-500 มก./กก. หรือฉีดสารกลุ่ม diarylheptanoids ที่แยกได้จากสารสกัด ได้แก่ (3R)-1,7-diphenyl-(4E,6E)-4,6-hep-tadien-3-ol (D-049) และ (3S)-1-(3,4-dihydroxy-phenyl)-7-phenyl-(6E)-6-hepten-3-ol (D-092) ขนาด 1-25 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับด้วยสาร thioacetamide พบว่าสารสกัดว่านชักมดลูกมีผลลดระดับของเอนไซม์ alanine transaminase (ALT) ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเกิดพิษต่อตับ และเพิ่มระดับของเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD) และ catalase (CAT) ซึ่งขนาดที่ให้ผลในการปกป้องตับ คือ 25 มก./กก. ในส่วนของสาร diarylheptanoids พบว่าสาร D-049 ซึ่งเป็น non-phenolic diarylheptanoid ขนาด 5-25 มก./กก. มีฤทธิ์ในการปกป้องตับได้ ขณะที่สาร D-092 ซึ่งเป็น phenolic diarylheptanoid ไม่มีผล นอกจากนี้สาร D-049 ยังลดการแสดงออกของ tumor necrosis factor (TNF-α) และเอนไซม์ CYP 2E1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบ แสดงว่าสารสำคัญในว่านชักมดลูกที่ออกฤทธิ์ปกป้องตับจากการเหนี่ยวนำให้เกิดพิษด้วย thioacetamide ในหนูเม้าส์ คือ สาร D-049 ซึ่งกลไกในการออกฤทธิ์อาจเนื่องมาจากฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสาร

Pharm Sci Asia. 2020;47(1):74-85.