ผลของสารสกัดต้นกระถินดำต่อสุขภาพผิวหนัง

การศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับอนุพันธ์ของสารโปรแอนโธไซยานิดินส์ (proanthocyanidins derived) จากสารกัดเปลือกต้นกระถินดำ (Acacia mearnsii) ต่อสุขภาพผิวของอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นที่มีประวัติมีปัญหาผิวหนัง เช่น อาการคัน ผิวแห้ง แต่ไม่ใช่ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากอาการแพ้ ที่บริเวณใบหน้าและมือ โดยศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 33 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดสอบซึ่งจะได้รับสารสกัดกระถินดำ 6 เม็ด/วัน (เทียบเท่าสารโปรแอนโธไซยานิดินส์ 245 มก./วัน) หลังอาหารเช้า เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอกจำนวน 33 คน แล้วประเมินผล โดยการวัดปริมาณน้ำในผิวหนังชั้นบนสุด (stratum corneum) การสูญเสียน้ำจากชั้นผิว (transepidermal water loss; TEWL) แบบประเมินเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ของผิวหนัง (Skindex-16), แบบสอบถามการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคผิวหนัง (Dermatology Life Quality Index; DLQI), ประเมินอาการคัน (visual analog scale for desire to scratch) และการตรวจเลือด ที่สัปดาห์ที่ 4 เมื่อใช้แบบสอบถาม DLQI สอบถามอาการและความรู้สึกต่าง ๆ พบว่าอาการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพผิวหนัง และอาการคันของกลุ่มทดสอบลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกว่าอาการในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และที่สัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดสอบมีค่าการสูญเสียน้ำจากชั้นผิวบริเวณหน้าต่ำกว่ากลุ่มยาหลอก จากการตรวจสอบพบว่าระดับธาตุเหล็กในเลือด (serum iron) ในกลุ่มทดสอบลดลงในสัปดาห์ที่ 8 แต่ไม่มีความสำคัญทางคลินิก การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเปลือกต้นกระถินดำมีผลลดการสูญเสียน้ำจากชั้นผิว ช่วยฟื้นฟูผิวที่แห้ง และอาการไม่สบายผิวได้

Biosci Biotechnol Biochem. 2019;83(3):538-50.