ฤทธิ์ต้านภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานของสารสำคัญในแอปเปิลและขิง

การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานของสาร phloretin จากผลแอปเปิลและสาร [6]-gingerol จากเหง้าขิง ในหนูเม้าส์ชนิด C57BL/6 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยการกินอาหารที่มีไขมันสูงจนเกิดภาวะอ้วนซึ่งนำไปสู่การเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 11 ตัว กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารมาตรฐาน กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง + phloretin 25 มก./กก. กลุ่มที่ 4 ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง + phloretin 75 มก./กก. กลุ่มที่ 5 ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง + [6]-gingerol 25 มก./กก. และกลุ่มที่ 6 ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง + [6]-gingerol 75 มก./กก. ให้สาร phloretin และ [6]-gingerol ด้วยการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนู 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 17 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับ phloretin และ [6]-gingerol มีระดับน้ำตาลในเลือด alanine aminotransferase, aspartate aminotransferase, advanced glycation end-products (AGEs) และ insulin ลดลง โดยพบว่า phloretin และ [6]-gingerol ทำให้ระดับของ AGEs และ N(ε)-(carboxymethyl)lysine (CML) ลดลง (AGEs และ CML เป็นสารที่พบได้มากในคนที่เป็นเบาหวาน) ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ผ่านทาง Nrf2 pathway และเพิ่มอัตราส่วน GSH/GSSG, ระดับเอนไซม์ heme oxygenase-1 และ glyoxalase 1 ที่เนื้อเยื่อตับ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสาร phloretin จากผลแอปเปิลและสาร [6]-gingerol จากขิงมีศักยภาพที่สามารถบรรเทาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานได้

Food Chem 2017;226:79-88.