ฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันจากเมล็ดราชดัด

การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันจากเมล็ดราชดัด (Brucea javanica (L.) Merr.) โดยให้หนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis; UC) ด้วย dextran sulfate sodium (DSS) ความเข้มข้น 30 มก./มล. ได้รับน้ำมันของเมล็ดราชดัดในรูปแบบอิมัลชั่น (Brucea javanica oil emulsion; BJOE) เข้าทางกระเพาะอาหาร (gavage) ในขนาด 0.5, และ 2 ก./กก. เปรียบเทียบผลกับการได้รับยามาตรฐาน 2 ชนิดคือ sulfasalazine (SASP) ขนาด 200 มก./กก. และ azathioprine (AZA) ขนาด 13 มก./กก. วันละครั้ง นาน 7 วัน นอกจากนี้หนูเม้าในกลุ่มปกติ (กลุ่มควบคุม) และหนูเม้าในกลุ่มที่ได้รับ DSS จะได้รับน้ำกลั่นและสาร lecithin จากถั่วเหลืองในรูปแบบของยาน้ำแขวนตะกอน (0.15 ก./กก.) ตามลำดับ และการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่า BJOE ประกอบด้วยกรดไขมัน oleic acid (62.68%) และ linoleic acid (19.53%) จากการทดลองพบว่าทั้ง BJOE, SASP และ AZA ทำให้ความผิดปกติที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วย DSS ลดลง โดยทำให้น้ำหนักตัวดีขึ้น สภาพของลำไส้ใหญ่ดีขึ้น สารก่อการอักเสบเช่น tumor necrosis factor-α (TNF-α), interleukin-1β (IL-1β), interleukin-6 (IL-6), interleukin-8 (IL-8), interleukin-17 (IL-17) และ interferon-γ (IFN-γ) มีระดับลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ DSS เพียงอย่างเดียว และพบว่าแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบเช่น myeloperoxidase (MPO), inducible nitricoxide synthase (iNOS) และ cyclooxygenase-2 (COX-2) ที่เพิ่มขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วย DSS ก็ลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ BJOE และ AZA ยังยับยั้งการกระตุ้น nuclear factor-kappa B (NF-κB) ซึ่งเกิดจากการได้รับ DSS ด้วย จากผลการทดลองดังกล่าวทำให้สามารถสรุปได้ว่า น้ำมันของเมล็ดราชดัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์จะเกี่ยวข้องกับการยับยั้ง NF-κB และการยับยั้งสารก่อการอักเสบต่างๆ

J Ethnopharmacol 2017;198:389–98.