การป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากใบย่านางในขนาด 300 มก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลา 8 สัปดาห์แก่หนูแรทปกติและหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสเตรปโทโซโทซิน (streptozotocin) และเปรียบเทียบผลการลดน้ำตาลในเลือดกับกลุ่มที่ได้รับยาไกลเบนคลาไมด์ (glibenclamide) ขนาด 0.25 มก./กก. น้ำหนักตัว พบว่าน้ำหนักตัวของหนูปกติและหนูที่เป็นเบาหวานที่ได้รับสารสกัดจากใบย่านางและยาไกลเบนคลาไมด์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และสารสกัดมีผลลดน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้ใกล้เคียงกับยาไกลเบนคลาไมด์ (25.01±19.77% และ 27.01±11.89% ตามลำดับ) ในสัปดาห์ที่ 3 และมีผลลดน้ำตาลในเลือดของหนูปกติได้เล็กน้อย (9.48±2.14%) ในสัปดาห์ที่ 2 สารสกัดมีผลเพิ่มระดับของอินซูลินในหนูที่เป็นเบาหวาน แต่ในหนูปกติไม่มีผล นอกจากนี้ยังกระตุ้นการงอกใหม่ (regeneration) ของ Islets of Langerhans ในตับอ่อนซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งอินซูลิน สรุปได้ว่าสารสกัดจากใบย่านางมีฤทธิ์ลดน้ำตาลของหนูที่เป็นเบาหวานได้ โดยการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน
Pharmacogn J 2017;9(5):621-5.