ฤทธิ์ต้านการอาเจียนจากการได้รับยารักษามะเร็งของสารสกัดพรมมิ

การศึกษาฤทธิ์ต้านการอาเจียนที่เกิดจากการได้รับยารักษามะเร็ง cisplatin ของสารสกัดมาตรฐานเมทานอลและส่วนสกัดเอ็น-บิวทานอลที่อุดมไปด้วยสาร bacoside จากส่วนเหนือดินของพรมมิ (Bacopa monnieri ) ในนกพิราบ ซึ่งเคยมีรายงานการใช้เพื่อศึกษาผลต่อการอาเจียนของยาหลายชนิด โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดมาตรฐานเมทานอลขนาด 10 - 40 มก./กก. กลุ่มที่ได้รับส่วนสกัดเอ็น-บิวทานอลขนาด 5 - 20 มก./กก. หรือกลุ่มที่ได้รับสาร N-(2-mercaptopropionyl) glycine (สารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง) ขนาด 10 มก./กก. หลังจากนั้นเป็นเวลา 30 นาทีจึงฉีด cisplatin ขนาด 7.0 มก./กก. เข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการอาเจียน จากการทดลองพบว่าสารทดสอบสามารถลดอาการอาเจียนของนกพิราบได้ 66.3%, 71.6% และ 76.5% ตามลำดับ ในขณะที่ยาต้านการอาเจียนมาตรฐาน metoclopramide ขนาด 30 มก./กก. จะลดอาการอาเจียนของนกได้ 48.9% การศึกษาในระดับเนื้อเยื่อพบว่า สารสกัดมาตรฐานเมทานอลและส่วนสกัดเอ็น-บิวทานอลทุกขนาดทำให้ความเข้มข้นของสาร serotonin (5-HT) ในก้านสมองและลำไส้ลดลง หลังจากที่นกได้รับ cisplatin แล้ว 3 ชม. ในขณะที่ในชั่วโมงที่ 18 กลุ่มที่ได้รับพรมมิจะมีระดับของสาร dopamine ที่บริเวณของโพรงสมอง (area postrema) และก้านสมอง และระดับของ 5-HT ในลำไส้ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การได้รับพรมมิเพียงอย่างเดียวจะไม่ทำให้ระดับสารสื่อประสาทในสมองหรือสารต่างๆ ในลำไส้เกิดความเปลี่ยนแปลง จากผลการทดลองดังกล่าวทำให้สามารถสรุปได้ว่าพรมมิมีประสิทธิภาพในการต้านการอาเจียนที่เกิดจากยา cisplatin ได้ในนกพิราบ โดยออกฤทธิ์ได้นาน ส่งผลดีต่อสมองและค่อนข้างมีความปลอดภัย

Planta Med 2014; 80: 1569 - 79