ฤทธิ์สมานแผลของสารโพลีแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ (Aloe vera )

การศึกษาฤทธิ์สมานแผลของสารโพลีแซคคาไรด์ (polysaccharides) จากวุ้นว่านหางจระเข้ โดยทำการทดลองในหนูแรทเพศผู้ 45 ตัว ที่ทำให้เกิดแผลเปิดบริเวณหลังขนาด 1 ซม. โดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่ม (กลุ่มละ 15 ตัว) กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ปล่อยให้แผลหายเองโดยไม่ได้รับการทายาชนิดใดๆ กลุ่มที่ 2 และ 3 ทาแผลด้วยสารโพลีแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ที่ละลายในน้ำเปล่าขนาด 25 และ 50 มก. ตามลำดับ ทาวันละครั้ง นาน 30 วัน ทำการวัดขนาดแผลทุกวัน แบ่งหนูจากแต่ละกลุ่มครั้งละ 5 ตัว เพื่อชำแหละและเก็บตัวอย่างผิวหนังบริเวณรอบๆ บาดแผล ในวันที่ 10, 20 และ 30 ของการทดลอง นำมาวิเคราะห์การแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสมานแผลด้วยวิธี Quantitative real time PCR ผลจากการทดลองพบว่า หนูแรทที่ทาแผลด้วยสารโพลีแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ทั้งสองขนาดมีอัตราการสมานแผลเร็วกว่าหนูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยการทาแผลด้วยสารโพลีแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้ขนาด 25 และ 50 มก. ปากแผลจะปิดในวันที่ 21 และ 18 ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มควบคุมนั้น ปากแผลเริ่มปิดในวันที่ 27 ของการทดลอง นอกจากนี้การทาแผลด้วยสารโพลีแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้มีผลเพิ่มการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์ผิวหนังขึ้นใหม่ได้แก่ MMP-3, TIMP-2, n-acetyl glucosamine (NAGA), n-acetyl galactosamine (NAGLA) และ collagen แสดงให้เห็นว่าสารโพลีแซคคาไรด์จากว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ช่วยในการสมานแผล ทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น

Int J Biol Macromol. 2014; 65: 424-30