คำถาม : ไทโรซิเนส- 1. ในการดสอบไทโรซิเนสเมื่อเติมสารละลายไทโรซิเนส บัฟเฟอร์และะสารละลายตัวอย่างผสมกันแล้ววบ่มที่ 10 นาที สีจะเป็นอย่างไร และหลังจากเติมสารละลาย L-DOPA สีจะเป็นอย่างไร เมื่อสารนั้นมีฤทธิ์ยับยั้งไทโรซิเนส
2. ในการทดสอบไทโรซิเนสถ้าทดสอบเริ่มต้นที่ความเข้มข้นสูงๆแล้วววัดค่าไม่ได้ถึง IC50 ต้องลดความเข้มข้นลงใช่มั้ยค่ะ (ความเข้มข้นน้อยเท่ากับยิ่งให้ฤทธิ์ดีถูกต้องมั้ยค่ะ ตอนเจือจางสารสกัดเพื่อนำไปทดสอบ)
3. ในการทดสอบไทโรซิเนสนอกจากจะต้องควบคุมอุณหภูมิให้เย็นแล้ววต้องคำนึงถึงแสงงด้วยมั้ยค่ะ
4. เมื่อบ่มไว้นานๆเป็นเวลาช่วงๆวัดเป็นช่วงๆ ค่าเพิ่มขึ้นคือเท้ากับมีฤทธิ์ดีใช่มั้ยค่ะ
5. ในการพอตกราฟต้องคุมที่ IC50 เสมอไปมั้ย
6. บัฟเฟอร์ pH 6.8 (ถ้าวัดแล้ววอยู่ในช่วง 7.3 ได้มั้ยค่ะหรือว่าต้อง 6.8 เท่านั้น)
- Date : 29/11/2567 17:08:00
คำตอบ : 1. เมื่อเติมสารละลายไทโรซิเนส บัฟเฟอร์และสารละลายตัวอย่างผสมกันแล้ววบ่มที่ 10 นาที จะยังไม่มีสีเกิดขึ้น การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ไทโรซิเนสจะเกิดขึ้นเมื่อเติม substrate (L-DOPA) และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ดังนั้นหากสารตัวอย่างหรือสารทดสอบมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส สีน้ำตาลที่เกิดขึ้นจะจางลง เมื่อเทียบกับ control (ไม่มีสารยับยั้ง)
2. โดยหลักการค่าความเข้นข้นในการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาลงครึ่งหนึ่ง (IC50) หากใช้ค่าความเข้มข้นน้อยก็สามารถยับยั้งได้ถึง IC50 แสดงว่าสารมีประสิทธิภาพมาก หากยังไม่สามารถยับยั้งได้ให้ทดลองเพิ่มความเข้มข้นให้สูงขึ้น แต่หากใช้ความเข้มข้นสูงมากแล้วยังไม่สามารถยับยั้งปฏิกิริยาได้ สารทดสอบอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
3. เอนไซม์ไทโรซิเนสควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงโดยตรงด้วยค่ะ
4. ไม่แน่ใจว่าค่าที่เพิ่มขึ้นหมายถึงค่าอะไร แต่หากบ่มปฏิกิริยาไว้นานขึ้นอาจเกิดผลได้หลายรูปแบบเช่น ประสิทธิภาพของสารทดสอบลดลง หรือ substrate สำหรับเข้าทำปฏิกิริยาหมดลง ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้อาจมีความคาดเคลื่อนได้ ดังนั้นควรยึดผลตามช่วงเวลาที่คู่มือของชุดทดสอบแนะนำ
5. Inhibitory Concentration (IC) คือ ค่าความเข้มข้นที่สารนั้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งที่ X% นอกจาก IC50 แล้ว สามารถวัดที่จุดอื่นได้ แต่การวัดที่ 50% เป็นค่ากลาง (median of the effectiveness) ที่แปลผลง่ายและเห็นประสิทธิภาพชัดเจน จึงนิยมใช้รายงานผลของประสิทธิภาพของสารตัวอย่างในงานวิจัยโดยทั่วไป
6. ค่า pH ของบัฟเฟอร์ควรปรับให้ได้ตามที่คู่มือแนะนำ เพราะมีผลต่อการทำปฏิกิริยาของเอนไซม์
อ้างอิง :
1. ฟีนอลิกรวม ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ฤทธิ์ต้านไทโรซิเนส ฤทธิ์ต้านคอลลาจิเนส และฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งเซลล์
ของสารสกัดผลดิบสตาร์แอปเปิ้ล
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/pkruscitech/article/download/247465/168585/890541
2. Human Tyrosinase Inhibitor Screening Kit (Diphenolase activity)
https://shorturl.asia/ljL6A
3. การทดสอบฤทธิ์ยับยั งเอนไซม์ไทโรซิเนส : การทดสอบที่สามารถใช้ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เครื่องส าอาง
ช่วยให้ผิวขาวจากสารสกัดสมุนไพร
https://www.manose.co/wp-content/uploads/2022/02/PR-tyrosinase.pdf
4. Tyrosinase Activity Assay Kit (Colorimetric), Sigma-Aldrich
https://shorturl.asia/U2hMd