คำถาม : น้ำมันหอมระเหยในใบและเปลือกส้ม- 1. ในใบส้มมีน้ำมันหอมระเหยประมาณเท่าไหร่คะ
2. แล้วเปลือกส้มมีน้ำมันหอมระเหยประมาณเท่าไหร่คะ
3. แล้วเปลือกส้มมีสารสำคัญอะไรบ้างคะ
- Date : 31/10/2567 17:36:00
คำตอบ : 1. รายงานการวิจัยพบว่าการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากวิธีการกลั่นด้วยน้ำจากใบของส้มตระกูลส้มเปลือกบาง (1) และใบของส้มเปลือกหนา (2) ได้ผลผลิตน้ำมันหอมระเหย เท่ากับ 0.07-0.23% และ 0.57% ตามลำดับ
2. เปลือกส้มจะมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยอยู่ในช่วง 0.2-2% โดยขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของส้ม รวมถึงปัจจัยของแหล่งปลูก ฤดูกาล และอายุพืช ซึ่งล้วนมีผลต่อการผลิตน้ำมันหอมระเหยในส้ม โดยมีรายงานการวิจัยพบว่าในการสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำจากเปลือกผลสด เปลือกที่ตากแห้งในอุณหภูมิห้อง และเปลือกอบแห้งของผลส้มเขียวหวาน ส้มซ่า และเกรปฟรุต พบผลผลิตของน้ำมันหอมระเหย เท่ากับ 0.3-0.5, 0.24-1.07 และ 0.2-0.4% ตามลำดับ (3) และการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มที่พบในประเทศจีนด้วยวิธีกลั่นด้วยไอน้ำ ได้ผลผลผลิตของน้ำมันหอมระเหย 0.95-2.80% (4) นอกจากนี้ยังพบรายงานการวิจัยที่ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากเปลือกส้มบางสายพันธุ์ซึ่งระบุว่า ปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากเปลือกส้มขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และไม่มีความสัมพันธ์กับความหนาของเปลือกส้ม แต่การย่อยเปลือกส้มให้มีขนาดเล็กก่อนการสกัดจะมีผลช่วยให้สกัดน้ำมันหอมระเหยได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวิธีการสกัด ซึ่งพบว่า การสกัดด้วยวิธีกลั่นด้วยไอน้ำจะได้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยมากกว่า การกลั่นด้วยน้ำร้อน และการกลั่นด้วยตัวทำละลาย (5)
3. สารหลักที่พบในเปลือกส้มจะเป็นน้ำมันหอมระเหย เช่น limonene, α-pinene, β-pinene, β-myrcene, -terpinene เป็นต้น และสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น hesperidin และ naringin ซึ่งพบในปริมาณมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดและสายพันธุ์ของส้ม (6)
อ้างอิง :
1. Fahmy NM, Elhady SS, Bannan DF, Malatani RT, Gad HA. Citrus reticulata leaves essential oil as an antiaging agent: a comparative study between different cultivars and correlation with their chemical compositions. Plants. 2022; 11(23):3335. doi: 10.3390/plants11233335
2. Oulebsir C, Mefti-Korteby H, Djazouli Z-E, Zebib B, Merah O. Essential oil of Citrus aurantium L. leaves: composition, antioxidant activity, elastase and collagenase inhibition. Agronomy. 2022; 12(6):1466. doi: 10.3390/agronomy12061466.
3. Lu Q, Huang N, Peng Y, Zhu C, Pan S. Peel oils from three Citrus species: volatile constituents, antioxidant activities and related contributions of individual components. J Food Sci Technol. 2019;56(10):4492-4502. doi: 10.1007/s13197-019-03937-w.
4. Guo JJ, Gao ZP, Xia JL, Ritenour MA, Li GY, Shan Y. Comparative analysis of chemical composition, antimicrobial and antioxidant activity of citrus essential oils from the main cultivated varieties in China. LWT. 2018;97:825-39. doi: 10.1016/j.lwt.2018.07.060.
5. Jalgaonkar KR, Jha SK, Pal RK, Jha GK, Samuel DVK. Effect of species and particle size on essential oil yield of citrus peel (Citrus spp.). Indian J Agri Sci. 2013; 83(12): 1285-88.
6. González-Mas MC, Rambla JL, López-Gresa MP, Blázquez MA, Granell A. Volatile compounds in citrus essential oils: a comprehensive review. Front Plant Sci. 2019;10:12. doi: 10.3389/fpls.2019.00012.