คำถาม : อายุของใบพืชต่อปริมาณสารสำคัญ
  • 1) โดยปกติการสกัดเอาสารพฤกษเคมีจากใบพืช (ในที่นี้คือสารฟลาโวนอยด์) อายุของใบพืชจะส่งผลต่อปริมาณสารพฤกษเคมีมั้ยครับ เช่น ใบแก่ ใบอ่อน
    2) โดยปกติการเอาใบพืชมาป่นแห้ง แล้วระบุว่าปริมาณเท่านี้ จะมีสารสำคัญประมาณนี้ (เช่น ใบฟ้าทะลายโจรบดแคปซูล) แบบนี้เขาได้เลือกอายุใบมั้ยครับ
    3) ถ้ามีใบพืช 1 ชนิด ต้องการนำใบมาสกัดสารพฤกษเคมีออกมา กำหนดให้ใบพืชปริมาณเท่ากันต่างกันที่กลุ่มที่หนึ่งเลือกใช้ใบพืชแบบไม่จำกัดอายุใบพืช กับกลุ่มที่สองที่ใช้แค่ใบแก่ แบบนี้ปริมาณสารสำคัญที่สกัดได้จะเท่ากันมั้ยครับ

  • Date : 30/5/2567 16:43:00
คำตอบ : 1. โดยปกติปริมาณสารพฤกษเคมีในพืชมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ แหล่งที่ปลูก ฤดูกาล ส่วนของพืช อายุพืช รวมถึงความอ่อนแก่ของต้น ใบ ดอก และผล เป็นต้น ยกตัวอย่างรายงานวิจัยของใบมะนาวโห่และใบมะรุมพบว่าอายุของใบพืชที่เพิ่มมากขึ้นหรือใบแก่จะมีปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกและฟลาใวนอยด์มากกว่าใบอ่อน (1-2) อย่างไรก็ตามผลอาจมีความแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของพืช
2. การเลือกอายุหรือระยะการเจริญเติบโตของตัวอย่างใบพืชเพื่อทำการวิจัยหรือใช้ประโยชน์ โดยส่วนใหญ่จะทำการหาข้อมูลและเลือกช่วงอายุของใบที่ให้สารสำคัญมากที่สุด เช่น การเก็บเกี่ยวใบฟ้าทะลายโจรจะเก็บในระยะใบโตเต็มที่หรือเริ่มออกดอก ซึ่งจะให้ใบปริมาณมาก และให้สาร andrographolide สูง และเมื่อต้นออกดอกไปแล้วขนาดและปริมาณใบจะน้อยลง
3. อาจไม่เท่ากัน เนื่องจากเหตุผลตามข้อ 1 ค่ะ

เอกสารอ้างอิง
1. ระยะพัฒนาการต่อปิริมาณสารพฤกษเคมีและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในใบมะนาวโห่
https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O057%20Hor44.pdf&id=2666&keeptrack=0