คำถาม : การทดสอบปริมาณฟีนอลิกรวม กับฟลาโวนอยด์รวม- การนำกระเทียมที่ได้จากการ evaporation เมื่อได้สารสกัดออกมา แล้วนำสารสกัดกระเทียมไปทดสอบปริมาณฟีนอลิกรวม กับฟลาโวนอยด์รวม อย่างไรค่ะ
- Date : 30/4/2567 16:05:00
คำตอบ : การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบปริมาณฟีนอลิกรวม (Total phenolic contents) ทำได้ด้วยวิธี Folin-Ciocalteu phenol colorimetric assay โดยนำสารสกัดตัวอย่างผสมกับสารละลาย Folin-Ciocalteu จากนั้นเติมสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) บ่มที่อุณหภูมิห้องและนำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 725 นาโนเมตร นำค่าที่ได้เทียบกับกราฟของสารละลายสารมาตรฐานกรดแกลลิค (สารมาตรฐานเปรียบเทียบ) และคำนวณปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมในรูปมิลิกรัมสมมูลสารมาตรฐานเปรียบเทียบ
การวิเคราะห์หาปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวม (Total Flavonoid Content, TFC) ทำได้โดยวิธี Aluminum chloride colorimetric method โดยนำตัวอย่างที่ต้องการทดสอบกับสารละลายอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ (AlCl3 reagent) จากนั้นนำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 415 นาโนเมตร นำค่าที่ได้เทียบกับกราฟของสารละลายมาตรฐานเคอร์ซิติน (สารมาตรฐานเปรียบเทียบ) และคำนวณปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวมรวมในรูปมิลิกรัมสมมูลสารมาตรฐานเปรียบเทียบ
อ้างอิง :
1. ชุติมา แก้วพิบูลย์, ณวงศ์ บุนนาค. การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของกระเทียมโทนดำ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2564;29(1):111-8.
https://opac01.rbru.ac.th/multim/journal/04423.pdf
2. ธรรญญพร วิชัย และคณะ. ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมของสารสกัดกระเทียมหมัก. การะประชุมวิชาการเสนอผลงานการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 วันที่ 28 มีนาคม 2557. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/mmp54.pdf
3. นงลักษณ์ ห้วยหงษ์ทอง. การทดสอบสารพฤกษเคมีและฤทธ์ิทางชีวภาพของสมุนไพรไทยบางชนิดที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาเคมีศึกษา คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรภา. 2559. https://bioinnovationlinkage.oie.go.th/a_AttachBioplastics3/Biopharma_3-2_20210715_200219_1.pdf
4. จันทร์จิรา รุ่งเจริญ, ณัฐธยาน์ สุริยวงศ์, สาธิต มิตรหาญ. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาคัดเลือกพันธุ์กระเทียมบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. 2560
https://research.hrdi.or.th/public/upload/y54wo57906.pdf