คำถาม : สาบเสือ
  • สาบเสือสดมีกลิ่นหอมสดชื่นแบบสมุนไพรอยากทราบถ้าเอาใบหรือส่วนอื่นมาสกัดด้วยเอทธิลแอลกอฮอล์ แล้วมีฤทธิ์
    1.ดับกลิ่นหรือไม่
    2 หรือฆ่าเชื้อที่ทำให้เกิดกลิ่นหรือไม่
    3 และสามารถใช้ทำสเปรย์ดับกลิ่น ได้หรือไม่
    4.สามารถใช้ผสมกับน้ำมันหอมระเหยอื่น เพื่อดับกลิ่นได้หรือไม่
    5.มีวิธีการสกัดอื่นที่ง่ายกว่า เพื่อนำสารสกัดมาช่วยดับกลิ่นหรือไม่

  • Date : 28/12/2566 16:22:00
คำตอบ : สาบเสือ มีกลิ่นเฉพาะตัว กลิ่นค่อนข้างฉุน ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย โดยองค์ประกอบหลัก คือ caryophyllene oxide t-muurolol และ humulene epoxide (1-2) สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ในการดับกลิ่น ถ้าเป็นการระงับกลิ่นตัว กลไกการเกิดกลิ่นตัวนั้นก็มีแบคทีเรียที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Propionibacteria, Staphylococcus และ Corynebacteria (3-4) และมีข้อมูลระบุว่าสาบเสือมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนัง P. acnes (5) และ S. epidermidis (6) จึงอาจมีฤทธิ์ต่อการระงับกลิ่นได้ อย่างไรก็ตามหากจะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อดับกลิ่น อาจต้องคำนึงถึงผู้ใช้ว่าชื่นชอบกลิ่นฉุนของสมุนไพรสาบเสือหรือไม่ สำหรับการนำสาบเสือไปผสมกับน้ำมันหอมระเหยอื่น สามารถทำได้ ในการผลิตอุตสาหกรรมด้านเครื่องหอม มีกระบวนการปรุงและปรับแต่งกลิ่น การพัฒนาสูตรกลิ่นหอม โดยองค์ประกอบของกลิ่นในน้ำหอม ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบ (7-8) ส่วนวิธีการสกัดนั้น เนื่องจากกลิ่นมาจากน้ำมันหอมระเหย จึงต้องสกัดเพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การระเหยด้วยไอน้ำ หรือสกัดด้วยตัวทำละลาย เป็นต้น (9-10)

อ้างอิง :
1. พนิดา แสนประกอบ, สกุลทิพย์ จันทร์หอม, รัชดาภรณ์ มั่นคง, เกศศิรินทร์ แสงมณ. การศึกษาแนวทางการพัฒนาโลชันกันยุงที่มีส่วนผสมจากใบสาบเสือ. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงาน ชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 10 (ระหว่างวันที่ 20 - 22 กันยายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).
2. Dougnon G, Ito M. Essential oil from the leaves of Chromolaena odorata, and sesquiterpene caryophyllene oxide induce sedative activity in mice. Pharmaceuticals (Basel). 2021;14(7):651. doi: 10.3390/ph14070651.
3. Kanlayavattanakul M, Lourith N. Body malodours and their topical treatment agents. Int J Cosmet Sci. 2011;33(4):298-311. doi: 10.1111/j.1468-2494.2011.00649.x.
4. กลิ่นตัว (apocrine bromhidrosis, osmidrosis, body odor). อ.พ.ญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
(https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/sirirajonline2021/Article_files/1097_1.pdf)
5. Kusuma IW, Rosamah1 RE, Kuspradini SH. Antibacterial activity against Propionibacterium acnes of n-hexane fractions from Siam weed leaves (Chromolaena odorata). Proceedings of the joint symposium on tropical studies (JSTS-19).
(https://www.atlantis-press.com/proceedings/jsts-19/125955326)
6. Sangnim T, Meeboon P, Phongsewalak P, Prasongdee P, Sriamornsak P, Singh I, Manmuan S, Huanbutta K. Development and evaluation of liquid plaster loaded with Chromolaena odorata leaf extract endowed with several beneficial properties to wound healing gels. 2022;8(2):72. doi: 10.3390/gels8020072.
7. TCFF ศาสตร์ความหอม สร้างคุณค่าจากสมุนไพร https://smeone.info/posts/view/4868
8. คู่มือน้ำหอมและการประยุกต์ใช้ในการสอนและการวิจัยเครื่องสำอาง สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลับแม่ฟ้าหลวง
https://cosmeticscience.mfu.ac.th/fileadmin/School_CosSci_file/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD_%E0%B8%9B%E0%B8%B5_62_%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%87.pdf
9. การสกัดน้ำมันหอมระเหย https://www.scilution.co.th/oil-extraction/
10. บทความและข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชธรรมชาติ
https://botanicessence.com/essential-oil/home/knowledge.jsp