คำถาม : การสกัดเพคติน- ทำไมต้องใช้กรดไฮโดรคลอริกในการสกัดเพคติน
- Date : 28/12/2566 16:06:00
คำตอบ : เพคติน (pectin) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ประเภท heteropolysaccharide มีหน่วยย่อย คือกรดกาแลกทูโรนิก (D-galacturonic acid) และเมทิลการแลกทูโรเนต และน้ำตาลหลายชนิด เช่น rhamnose, galactose, arabinose พบตามธรรมชาติในผนังเซลล์ของพืชและรอยต่อระหว่างผนังเซลล์ การสกัดเพคตินจากเปลือกผลไม้หรือพืชต่างๆ อาศัยหลักการทำให้เพคตินละลายออกมา ซึ่งโดยทั่วไปเพคตินในเนื้อเยื่อพืชจะอยู่ในรูปไม่ละลายน้ำ (insoluble pectin) ดังนั้นจึงต้องใช้สารสะลายกรดหรือด่างเพื่อทำปฏิกิยาไฮโรไลซิส (hydrolysis) ทำให้เพคตินถูกไฮโดรไลซ์เป็นเพคตินในรูปที่ละลายน้ำ (soluble pectin) จากนั้นจึงทำการตกตะกอนด้วยเอทิลหรือเมทิลแอลกอฮอล์ ในการใช้สารละลายด่างในการสกัดจะทำให้โมเลกุลเพคตินถูกทำลายได้ง่ายกว่าการใช้สารละลายกรด ดังนั้นจึงนิยมใช้สารละลายกรดในการสกัดเพคติน ซึ่งกรดที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการสกัดคือกรดไฮโรคคลอริก
อ้างอิง : องอาจ เด็ดดวง. (2553). การเปรียบเทียบเพคตินสกัดจากฝรั่งสามชนิดกับเพคตินมาตรฐาน. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Chem/Ong-Ard_D.pdf