คำถาม : การเลือกสัดส่วนของแอลกอฮอล์ในการสกัดสมุนไพร
  • - การเลือกใช้วิธีการแช่แอลกอฮอล์ ในแต่ละความเข้มข้นมีผลต่อสมุนไพรอย่างไร
    - สารสำคัญในใบสาบเสือ ใบฝรั่ง เปลือกทุเรียน เปลือกมังคุด
    - งานวิจัยเกี่ยวการการใช้สารสกัดจากสมุนไพร 4 ชนิดข้างต้น ต่อเชื้อ Streptococcus spp./Staphylococuss spp./Coliform bacteria
    - การผสมสารสกัดสมุนไพร

  • Date : 31/10/2566 14:41:00
คำตอบ : 1. การเลือกใช้วิธีการแช่แอลกอฮอล์ ในแต่ละความเข้มข้นมีผลต่อสมุนไพรอย่างไร
ความเข้มข้นของตัวทำละลายมีผลต่อชนิดและปริมาณของสารสำคัญในสมุนไพรที่ต้องการสกัดออกมา โดยหลักการสกัดสมุนไพรแต่ละชนิด จะเลือกใช้ตัวทำละลายและวิธีการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการสกัดสารสำคัญใดจากพืชสมุนไพรนั้น และสารสำคัญนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร เช่น สารมีขั้ว (สารละลายน้ำ) สารกึ่งมีขั้ว (สารละลายแอลกอฮอล์) และสารไม่มีขั้ว (ไม่ละลายน้ำ) เช่น น้ำมันหอมระเหย ต้องสกัดด้วยเฮกเซนหรือการกลั่นด้วยไอน้ำ เป็นต้น
2. สารสำคัญในใบสาบเสือ ใบฝรั่ง เปลือกทุเรียน เปลือกมังคุด
- ใบสาบเสือ พบน้ำมันหอมระเหย สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ acacetin, chalcones, eupatilin, luteolin, naringenin, kaempferol, quercetin, quercetagetin, sinensetin และสารกลุ่มไตรเทอร์ปีน ได้แก่ α-amyrin
- ใบฝรั่ง พบน้ำมันหอมระเหย และสารประกอบฟนอลิก ไดแก gallic acid, catechin, epicathechin, rutin, naringenin, kaempferol, quercetin, guaijaverin
- เปลือกทุเรียน พบสารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ เช่น เซลลูโลส เพคติน
- เปลือกมังคุด พบสารกลุ่มแซนโทน (xanthones) ได้แก่ α-mangostin, β-mangostin, γ-mangostin, garcinone C, garcinone D, garcinone E, gartanin, 8-deoxygartanin เป็นต้น
3. งานวิจัยเกี่ยวการการใช้สารสกัดจากสมุนไพร 4 ชนิดข้างต้นต่อเชื้อ Streptococcus spp./Staphylococuss spp./Coliform bacteria
ใบสาบเสือ
- การทดสอบด้วยวิธี broth dilution พบว่าสารสกัด 95%เอทานอลใบสาบเสือ พบค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus และ S. epidermis (minimum inhibitory concentration: MIC) เท่ากับ 0.25 มก./มล. และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อ S. aureus และ S. epidermis (minimum bactericidal concentration: MBC) เท่ากับ 0.5 มก./มล. Sangnim T, Meeboon P, Phongsewalak P, Prasongdee P, Sriamornsak P, Singh I, et al. Development and evaluation of liquid plaster loaded with Chromolaena odorata leaf extract endowed with several beneficial properties to wound healing. Gels. 2022 Jan 24;8(2):72.
ใบฝรั่ง
- การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากใบฝรั่งต่อการยับยั้งเชื้อ S. aureus ด้วยวิธี well diffusion พบว่าสารสกัดเอทานอลและสารสกัดเมทานอลจากใบฝรั่งให้ผลยับยั้งเชื้อด้วยค่าพื้นที่การยับยั้ง (Zone of Inhibition) เท่ากับ 11.0±0.52 มม. และ 12.3±0.78 มม. ตามลำดับ Biswas B, Rogers K, McLaughlin F, Daniels D, Yadav A. Antimicrobial activities of leaf extracts of guava (Psidium guajava L.) on two gram-negative and gram-positive bacteria. Int J Microbiol. 2013;2013:746165.
เปลือกทุเรียน
- การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารโพลีแซคคาไรด์จากเปลือกทุเรียนต่อเชื้อ Streptococcus mutans พบว่าสารโพลีแซคคาไรด์จากเปลือกทุเรียนความเข้มข้น 100 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ S. mutans ในเวลา 1 นาที และมีประสิทธิภาพให้เคียงกับการใช้ 0.1% chlorhexidine Thunyakipisal P, Saladyanant T, Hongprasong N, Pongsamart S, Apinhasmit W. Antibacterial activity of polysaccharide gel extract from fruit rinds of Durio zibethinus Murr. against oral pathogenic bacteria. J Investig Clin Dent. 2010 Nov;1(2):120-5.
เปลือกมังคุด
- สารสกัด 95% เอทานอลเปลือกมังคุด มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. epidermidis ด้วยค่า MIC เท่ากับ 15.63 มคก./มล. และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย S. epidermidis ด้วยค่า MBC เท่ากับ 31.25 มคก./มล. Pothitirat W, Chomnawang MT, Supabphol R, Gritsanapan W. Free radical scavenging and anti-acne activities of mangosteen fruit rind extracts prepared by different extraction methods. Pharm Biol. 2010;48(2):182-6.

อย่างไรก็ตามรายงานการวิจัยของสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดต่อเชื้อแบคทีเรียข้างต้นมีค่อนข้างมาก หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถใช้บริการสืบค้นของมูลของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร โดยจะมีค่าบริการเริ่มต้น 100 บาท/ชนิดพืช หรือสืบค้นเพิ่มเติมในฐานข้อมูลต่างๆ โดยใช้คำค้นเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพร ร่วมกับชื่อเชื้อแบคทีเรียที่สนใจ หรือชื่อวิทยาศาสตร์ร่วมกับคำว่า antibacterial ค่ะ
4. การผสมสารสกัดสมุนไพร
ปกติแล้วปริมาณและสัดส่วนของสารสกัดที่ใส่ในผลิตภัณฑ์ไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอน การเพิ่มสารสกัดสมุนไพรลงในสูตรตำรับมาตรฐานมีหลักการ คือ ให้ใช้สารสกัดสมุนไพรแทนที่ส่วนของน้ำที่ใช้ในสูตรตำรับ และการใส่สมุนไพรหลายตัวรวมกันเพื่อต้องการคุณสมบัติหลายอย่าง ต้องทดสอบก่อนว่าเมื่อใช้ผสมกันแล้วสารสกัดแต่ละชนิดมีความเข้ากันได้หรือไม่ ซึ่งต้องอาศัยการทดสอบปรับเปลี่ยนเพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมว่าควรใส่ตัวใดมากหรือน้อยค่ะ

อ้างอิง :
- ฐานข้อมูลสมุนไพรในเครื่องสำอาง
- ฐาน PHARM