คำถาม : น้ำมันงาดำสกัดเย็น
  • บริโภคน้ำมันงาดำสกัดเย็นแล้ว ต้องการทราบว่า
    1. มีผลข้างเคียงภายนอกไหมคะ
    2. มีผลตกค้างเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ฯลฯ ไหมคะ
    3. ควรบริโภคได้สูงสุดกี่แคปซูลต่อวันคะ และ
    4. มีประโยชน์ที่สำคัญอะไรบ้าง
    ขอบคุณค่ะ

  • Date : 31/12/2565 16:54:00
คำตอบ : ข้อมูลการศึกษาทางคลินิกของน้ำมันงาดำสกัดเย็น (cold pressed sesame-oil) โดยตรง ค่อนข้างน้อย จากข้อมูลงานวิจัยงาในรูปแบบของอาหาร น้ำมันงาที่สกัดด้วยวิธีต่าง ๆ หรือสารสำคัญที่สกัดได้จากงา เช่น sesamin เป็นต้น
1. งา ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้อาหารได้ ควรระมัดระวังในผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้อาหาร (1-3) บางรายมีอาจมีอาการแพ้แบบรุนแรง (anaphylaxis) (4) และมีรายงานผู้ป่วยที่สัมผัสเมล็ดงาโดยการสูดดมทำให้เกิดอาการหอบหืด เยื่อบุจมูกอักเสบ และลมพิษ (5)
2. มีรายงานการทดสอบความเป็นพิษของน้ำมันงาในหนูแรทพบว่าทำให้เซลล์ไตเกิดความผิดปกติ (6) อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรใด ๆ ไม่ควรใช้ในขนาดปริมาณสูงหรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
3. ควรปริโภคในปริมาณที่เหมาะสม อาจจะรับประทานงาดำในรูปแบบของอาหาร (งาดำและงาขาวเป็นพืชที่มีน้ำมันเป็นองค์ประกอบหลัก พลังงานสูงถึง 650-700 กิโลแคลอรีต่อกรัม ควรบริโภคประมาณวันละไม่เกิน 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 15 กรัม/วัน) (7) หากจะรับประทานในรูปแบบของสารสกัดและมุ่งเน้นในการรักษาโรคเรื้อรังต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือศึกษาข้อมูลงานวิจัยศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
4. มีข้อมูลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันงาสกัดเย็นพบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (8) ลดความเป็นพิษจากโลหะหนัก ตะกั่วและเหล็ก (9) มีรายงานการศึกษาทางคลินิกการบริโภคน้ำมันงามีผลปรับปรุงการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือดในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง (10) การรับประทานน้ำมันงาที่อุดมไปด้วยวิตามินอีมีผลลดดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (11) เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง :
1. Adatia A, Clarke AE, Yanishevsky Y, Ben-Shoshan M. Sesame allergy: current perspectives. J Asthma Allergy. 2017;10:141-151. doi: 10.2147/JAA.S113612.
2. Dano D, Remington BC, Astier C, Baumert JL, Kruizinga AG, Bihain BE, Taylor SL, et al. Sesame allergy threshold dose distribution. Food Chem Toxicol. 2015;83:48-53. doi: 10.1016/j.fct.2015.05.011.
3. ภูมิแพ้อาหาร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http://www.ifrpd-foodallergy.com/index.php/th/news/471-food-for-kids-sesame-allergy-affects-17-of-food-allergic-children-new-study-suggests.
4. Chiu JT, Haydik IB. Sesame seed oil anaphylaxis. J Allergy Clin Immunol. 1991;88(3 Pt 1):414-5. doi: 10.1016/0091-6749(91)90106-x.
5. Keskinen H, Ostman P, Vaheri E, Tarvainen K, Grenquist-Norden B, Karppinen O, et al. A case of occupational asthma, rhinitis and urticaria due to sesame seed. Clin Exp Allergy. 1991;21(5):623-4. doi: 10.1111/j.1365-2222.1991.tb00856.x.
6. Ostovan M, Anbardar MH, Khazraei H, Fazljou SMB, Khodabandeh Z, Shamsdin SA, et al. The short-term effects of Pistacia lentiscus oil and sesame oil on liver and kidney pathology of rats and human cancer cell lines. Galen Med J. 2020;9:e2001. doi: 10.31661/gmj.v9i0.2001.
7. https://www.youtube.com/watch?v=VZqyFYwri9g
8. Prescha A, Grajzer M, Dedyk M, Grajeta H. The antioxidant activity and oxidative stability of cold-pressed oils. J Am Oil Chem Soc. 2014;91(8):1291-301. doi: 10.1007/s11746-014-2479-1.
9. Chandrasekaran VR, Hsu DZ, Liu MY. Beneficial effect of sesame oil on heavy metal toxicity. JPEN J Parenter Enteral Nutr. 2014;38(2):179-85. doi: 10.1177/0148607113490960.
10. Karatzi K, Stamatelopoulos K, Lykka M, Mantzouratou P, Skalidi S, Zakopoulos N, et al. Sesame oil consumption exerts a beneficial effect on endothelial function in hypertensive men. Eur J Prev Cardiol. 2013;20(2):202-8. doi: 10.1177/2047487312437625.
11. Farajbakhsh, A., Mazloomi, S.M., Mazidi, M. et al. Sesame oil and vitamin E co-administration may improve cardiometabolic risk factors in patients with metabolic syndrome: a randomized clinical trial. Eur J Clin Nutr. 2019;73:1403-11. doi: 10.1038/s41430-019-0438-5.