คำถาม : เมล็ดมะขาม
  • เมล็ดมะขามมีกลไกลการออกฤทธิกำจัดพยาธิอย่างไร
  • Date : 1/12/2565 16:35:00
คำตอบ : จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์กำจัดพยาธิของเมล็ดมะขามพบว่า สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดมะขามมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวเต็มวัยและไข่พยาธิ ชนิดพยาธิตัวกลม ซึ่งมีรายงานการวิจัยเพื่อยืนยันผลในสัตว์ทดลองได้แก่ แพะ แกะ และสุกร โดยพบว่า การให้สารสกัดดังกล่าวมีผลลดจำนวนพยาธิและไข่พยาธิในทางเดินอาหารและในอุจจาระของสัตว์ลงอย่างมีนัยสำคัญ และสารสำคัญในเนื้อเมล็ดมะขามที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ในการกำจัดพยาธิคือ albuminoid

เอกสารอ้างอิง :
1. Nicolas AC, Acero LH. Anthelmintic potential of tamarind (Tamarindus indica) seeds. IJBBB. 2019;9(3):194-201. http://www.ijbbb.org/vol9/523-L1011.pdf
2. Bunviboolvat P, Taechaarpornkul N, Saratham J, Sungpradit S, Jirapattharasate C, Nakthong C, et al. Anthelmintic effects of ethanolic extracts from pomegranate peels, mangosteen peels and tamarind seeds on gastrointestinal nematode egg counts in lambs. JAAS. 2013;6(2): 39-50. https://vs.mahidol.ac.th/jaas/Files/Vol6No2/All%20Page%20JAAS%202(6)13/JAAS2(6)13%20RS%20Sook-Pichai.pdf
3. เจตนา หนูพันธุ์. การศึกษาประสิทธิภาพของใบขี้เหล็กและเนื้อในเมล็ดมะขามในการกำจัดพยาธิภายในทางเดินอาหารของแพะ. วารสารสิชาการสถาบันอาชีวศึกาเกษตร. 2560;1(2): 35-40. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JVIA/article/view/213644
4. สรศักดิ์ ทองแพะ. ผลของการเสริมเมล็ดมะขามต่อพยาธิในระบบทางเดินอาหารและศักยภาพในการให้ผลผลิตแพะเนื้อระยะกำลังเจริญเติบโต. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ม. เทคโนโลยีสุรนารี. 2558. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/5820/1/Fulltext.pdf