คำถาม : สารเคอร์คูมิน
  • ทำไมสารเคอร์คูมินถึงใช้ความยาวคลื่น428นาโนเมตรในการวัดค่าการดูดกลืนแสงคะ
  • Date : 8/11/2562 17:02:00
คำตอบ : การตรวจวัดค่าดูกลืนแสง (absorbance) อาศัยหลักการที่ว่า สารแต่ละชนิดจะสามารถดูดกลืนแสงได้ในช่วงความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน แสงที่มองเห็นจะเปนแสงสีขาว (white light) มีย่านความยาวคลื่นในช่วง 380-780 nm ที่เกิดจากการรวมกันของแสงสีตางๆ มีสีหลักอยู 7 สีคือ สีมวง สีคราม สีน้ําเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด และสีแดง หากแสงขาวถูกดูดกลืนคลื่นแสงไปบางช่วงความยาวคลื่น สีที่ปรากฎจะเป็นสีตรงกันข้ามในวงล้อสี ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงที่ถูกดูดกลืนกับสีของสารที่มองเห็นนี้มีประโยชน์สำหรับใช้ในการทำนายว่าสารประกอบที่มีสีจะดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นในช่วงใดเช่น สารเคอร์คูมินมีสีส้มออกแดง หมายความว่า แสงขาวเมื่อกระทบกับสารเคอร์คูมินจะเกิดการดูดกลืนแสงสีอื่นๆไว้มาก จนกระทั่งแสงที่ทะลุและสะท้อนออกมาสู่ตาเราเห็นเป็นสีส้มออกแดง ในกรณีนี้ แสงที่สารเคอร์คูมินดูดกลืนไว้มากคือแสงสีน้ำเงินถึงน้ำเงินเข้ม (สีตรงข้ามกันในวงล้อสี) ดังนั้นในการวิเคราะห์โดยวัดค่าดูกลืนแสง จึงต้องเลือกใช้ความยาวคลื่นในช่วง 450-495 nm เป็นต้น ทั้งนี้การวัดค่าการดูดกลืนแสงของสารแต่ละชนิดจะประเมินจากค่าการดูดกลืนแสงความยาวคลื่นที่สามารถดูดกลืนได้มากสุด (λmax) ซึ่งขึ้นกับส่วน chromophore คือโมเลกุลที่มีหมู่ฟังก์ชันที่ไม่อิ่มตัว เช่นพันธะคู่ พันธะสาม ในโครงสร้างทางเคมีของสารนั้นๆ
สามารถอ่ารรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก “วิธีสเปกโตรสโกฟีเบื้องต้น” https://web.rmutp.ac.th/woravith/upload/AnalChem/spectroscopy.pdf