คำถาม : สารสกัดหยาบ ต้านมะเร็ง
  • สารสกัดหยาบที่ได้จากการสกัดจากสมุนไพรแห้งด้วยตัวทำละลาย น้ำ เมทานอล เอทานอล เอทิลอะซิเตดและคลอโรฟอร์ม
    1. ทำไมสารที่สกัดด้วยน้ำให้ปริมาณสารสกัดหยาบ(Total yield of crude extract) มากที่สุด
    2. ชนิดขององค์ประกอบทางพฤกษเคมีของสารที่สกัดด้วยตัวทำละลายที่เป็นน้ำมากที่สุด แต่ความสามารถในการยังยั้งเซลล์มะเร็งน้อยกว่าสารที่สกัดด้วยเอทานอลและเมทานอล
    3. Saponin, Sterol และ Anthraquinone ที่พบในสารสกัดจากใบกะตังใบมีผลในการยับยั้งเซลล์มะเร็งไหม และอันไหนมีผลกับเซลล์มะเร็งมากว่ากัน
    4. วิธีไหนคือวืธีมาตรฐานการหาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสมุนไพร
    5. วิธีมาตรฐานที่ใช้หาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีในสารสกัดสมุนไพร

  • Date : 20/9/2562 16:41:00
คำตอบ : 1.อาจเนื่องจากในสมุนไพรที่เลือกใช้ มีปริมาณของสารที่สามารถละลายได้ในน้ำซึ่งเป็นสารที่มีขั้วอยู่เป็นจำนวนมากกว่าสารที่ละลายในตัวทำละลายอื่นๆ
2. แสดงว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ยังยั้งเซลล์มะเร็งเป็นสารที่ละลายได้ด้วยเอทานอลและเมทานอล แต่พบในปริมาณน้อยกว่าในสารสกัดน้ำ
3. ไม่พบงานวิจัยของฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของ Saponin, Sterol และ Anthraquinone ที่พบในสารสกัดจากใบกะตังใบ แต่จากการสืบค้นพบว่า mollic acid arabinoside ซึ่งเป็นสารกลุ่ม cycloartane triterpenoid glycosides มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและทำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง Ca Ski cervical cancer cells (1, 2)
4. วิธีการวิเคราะหฤทธิ์ตานอนุมูลอิสระ แบงออกเปน 2 ประเภท คือ การวิเคราะหฤทธิ์ตานอนุมูลอิสระเชิงคุณภาพและการวิเคราะหฤทธิ์ตานอนุมูลอิสระเชิงปริมาณ ซึ่งในแตละประเภทจะมีหลายวิธีและแตละวิธีมีความจําเพาะแตกตางกัน โดยปกติมักใชหลายวิธีรวมกันในการตรวจสอบและสรุปผลเพื่อให้ผลการทดสอบมีความถูกต้องและแม่นยำ วิธีการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเชิงคุณภาพที่นิยม ได้แก่ การทำให้เกิดสีโครมาโตกราฟีแบบชั้นบาง และเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ส่วนวิธีการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเชิงปริมาณที่นิยม ได้แก่ การตรวจวัดฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีการทำลายอนุมูลอิสระดีพีพีเอช (DPPH radical scavenging) การฟอกสีอนุมูลอิสระเอบีทีเอส (ABTS radical cation decolorization) และการวิเคราะห์ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกของสารต้านอนุมูลอิสระ (ferric ion reducing antioxidant power) (3)
5. การตรวจสอบองค์ประกอบของสารพฤกษเคมีในสารสกัดสมุนไพร มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของสารแต่ละชนิด ซึ่งสามารถสืบค้นได้จากหนังสือในห้องสมุด หรืองานวิจัยจากฐานข้อมูลต่างๆ เช่น pubmed, scifinder, scidirect เป็นต้น

อ้างอิง :
(1) Wong YH, Kadir HA, Ling SK. Bioassay-guided isolation of cytotoxic cycloartane triterpenoid glycosides from the traditionally used medicinal plant Leea indica. Evid Based Complement Alternat Med. 2011;10:881-8.
(2) Wong YH, Kadir HA. Induction of mitochondria-mediated apoptosis in CA ski human cervical cancer cells triggered by mollic acid arabinoside isolated from Leea indica. Based Complement Alternat Med. 2012;11, Article ID 684740, 11 pages.
(3) บุหรัน พันธุ์สวรรค์. อนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2556;21(3):275-86.