คำถาม : การสกัดแยก Brazilin จากแก่นฝาง- อยากทราบว่า
1.Brazilin เป็นสารมีขั้วหรือไม่มีขั้วเหมาะสมจะใช้อะไรเป็นตัวสกัดหรือตัวทำละลาย
2.วิธีที่เขา Purify คือเขานำสารสกัดหยาบของฝางมาแยกส่วนโดยใช้ Siliga gel column(7x24cm) ใช้ตัวชะเป็น Hexane and ethyl acetate (6:4 v/v) จะได้13ส่วนค่ะ แล้วเขานำ13ส่วนนี้ไปทดสอบประสิทธิภาพการต้านเชื้อ P. acnes พบว่าส่วนที่5,6สามารถต้านเชื้อได้ เขาจึงนำส่วนที่ 5,6มาแยกส่วนต่อโดยใช้ Sephadex LH-20 column(3x80cm) และใช้ตัวชะเป็น Methanol แล้วได้7ส่วนค่ะเป็นส่วน A-G แล้วนำส่วนนี้ไปทดสอบประสิทธิภาพการต้านเชื้ออีกครั้งพบว่าส่วน E สามารถต้านเชื้อได้ เขาจึงนำส่วนE ไปre-chromatography อีกด้วย Siliga gel column(3x25cm) และใช้ตัวชะเป็น Hexane and ethyl acetate (7:3 v/v) จะได้ Red crystals ของ CS-1 ค่ะ ตรงนี้อยากทราบว่าเขาเลือกใช้ชนิดของchromatography อย่างไร เลือกใช้ขนาด column ดูจากอะไรทำไมแต่ละครั้งถึงใช้ขนาด columnไม่เท่ากัน แล้ว ตัวชะเลือกใช้อย่างไร ทำไมบางครั้งถึงใช้ hexaneðyl acetate บางครั้งใช้ methanol แล้วแต่ละครั้งก็ใช้สัดส่วน v/v ไม่เท่ากัน
3.จากวิธีการแยก Brazilin ในข้อ2. วิธีแบบนี้เขาเรียกว่า วิธี antibacterial assay-guided isolation หรือเปล่าคะ
- Date : 22/10/2561 16:24:00
คำตอบ : 1. Brazilin เป็นสารค่อนข้างมีขั้ว ใน paper นี้ ใช้ 35% เอทานอล เป็นตัวสกัดสารนี้ออกจากสารสกัด brazilin rich extract (BRE)
2. การเลือกใช้คอลัมน์และตัวทำละลายชนิดใด ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารที่ต้องการจะแยกสกัด (มีขั้วหรือไม่มีขั้วและขนาดโมเลกุลของสาร) ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดว่าการแยกจะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพดีหรือไม่ ได้แก่ ความแตกต่างระหว่างแรงดึงดูดระหว่างสารตัวอย่างกับวัฏภาคนิ่ง (สำหรับซิลิกาเจล) และความแตกต่างของขนาดของโมเลกุลของสารที่ผสมกัน (สำหรับใช้วัฏภาคนิ่ง sephadex LH-20) และการละลายของสารตัวอย่างในวัฏภาคเคลื่อนที่ (ตัวทำละลาย) ดังนั้น ความมีขั้วของสารที่จะแยกและความมีขั้วของตัวทำละลายที่เลือกใช้ จึงมีผลต่อการแยกมาก ชนิดของวัฏภาคเคลี่อนที่ขึ้นกับความสามารถในการละลาย การแยกสาร และยังสัมพันธ์กับวัฏภาคนิ่งที่ใช้ และขนาดของคอลัมน์ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของสารที่จะแยก
3. เป็นวิธี bioassay-guided isolation คือ วิธีการสกัดแยกส่วนสกัด (fraction) แล้วนำไปทดสอบฤทธิ์ จากนั้นนำส่วนสกัดที่มีฤทธิ์ มาทำการสกัดแยกและทดสอบฤทธิ์ จนกระทั่งได้สารบริสุทธิ์ที่ออกฤทธิ์