คำถาม : การอบสมุนไพร
  • ต้องการศึกษาเรื่องการอบสมุนไพร
  • Date : 8/10/2560 17:01:00
คำตอบ : การอบสมุนไพรมี 2 แบบ ได้แก่การอบแห้งและการอบเปียก โดยการอบแห้ง หรือการเซาว์น่านิยมในต่างประเทศคล้ายคลึงกับการอยู่ไฟ โดยใช้ความร้อนจากถ่านหินบนเตาร้อน ส่วนการอบเปียกเป็นวิธีที่คนไทยนิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน เช่นการอบในกระโจม หรือในห้องอบสมุนไพร
การอบสมุนไพร ขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพร และส่วนต่างของพืช อุณหภูมิที่ใช้ในการอบสมุนไพรจะแตกต่างกันไป โดยทั่วไปมักใช้ดังนี้
สมุนไพรทั้งต้น ใบ ดอก ใช้อุณหภูมิ ประมาณ 20 – 40 องศาเซลเซียส
เปลือก ราก ใช้อุณหภูมิประมาณ 30 – 65 องศาเซลเซียส
ตัวอย่างสูตรตัวยาอบสมุนไพร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้
สูตรที่ 1
ใบมะกรูด, ใบมะขามแก่, ต้นตะไคร้ทุบแตก ตัดเป็นท่อนสั้น, หอมแดงทุบแตก, ไพลหั่นเป็นแว่น, ใบส้มป่อย, การบูรบดละเอียด
สูตรที่ 2
ใบส้มโอ, ใบมะขามแก่, ใบมะกรูด, ไพลทุบแตก, เหง้าข่าแก่ทุบแตก, ใบกระเพราแดง, การบูรบดละเอียด
สูตรที่ 3
ว่านน้ำ (ถอนมาทั้งราก ลำต้น ใบ), ผักหนาม (ถอนมาทั้งต้น), ใบมะกรูด, หอมแดง, ต้นตะไคร้ทุบ ตัดเป็นท่อนสั้น, ส้มป่อย, การบูรบดละเอียด
สูตรที่ 4
เหง้าไพลทุบแตก, เหง้าขมิ้นชันทุบแตก, เหง้าข่าแก่ทุบแตก, ใบมะขามแก่, ดอกดีปลี, รากเจตมูลเพลิงแดง, หอมแดงทุบแตก, ส้มป่อย, ตะไคร้ทุบแตก, ใบส้มโอ, ใบกระเพราแดง, ต้นทองพันชั่งทั้งรากสับชิ้นเล็ก ๆ, การบูรบดละเอียด

โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก บทความเรื่องการอบสมุนไพร จาก link http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book55_3/culture.html