คำถาม : ผลิตภัณฑ์จากเปลือกผลไม้- หากนำสารสกัดที่ได้จากเปลือกมังคุดและเปลือกมะกรูด ที่สกัดด้วยอะซิโตนมาทำเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกเช่น ครีม หรือโลชั่น จะเป็นอันตรายกับผู้ใช้หรือไม่ หากไม่ควรใช้สารสกัดในปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม
- Date : 6/7/2558 10:07:00
คำตอบ : สารสกัดสมุนไพรด้วยอะซิโตนสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้แต่อะซิโตนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ไอระเหยอาจทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง และตา การสัมผัสอะซิโตนนานๆ หรือเป็นประจำทางผิวหนัง จะก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรงหรือเกิดการอักเสบของผิวหนังได้ หากอะซิโตนเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูงจะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุทางเดินอาหาร เกิดการคลื่นไส้ และอาเจียน เป็นต้น ดังนั้นขั้นตอนการเตรียมสารสกัดสมุนไพรด้วยอะซิโตน ควรผ่านกระบวนการระเหยแห้ง ให้อะซิโตนระเหยออกไปจนหมด เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ อาจนำไปกลั่นด้วยระบบสุญญากาศ ได้สารสกัด dry extract ที่มีลักษณะแห้งและแข็ง และมีความเข้มข้นมากขึ้น
สำหรับความเข้มข้นของสารสกัดสมุนไพรที่ผสมในเครื่องสำอางขึ้นกับชนิดของสารสกัด ถ้าเป็น dry extract นิยมใช้ 1.0 2.0 % และถ้าเป็นสารสกัดบริสุทธิ์จะใช้ความเข้มข้นต่ำเพียง 0.25 1.0 % เท่านั้น
ที่มา :
- หนังสือ เครื่องสำอางธรรมชาติ รศ.พิมพร ลีลาพิสิฐ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- http://msds.pcd.go.th/searchName.asp?vID=10#อันตรายต่อสุขภาพอนามัย (Health Effect)
- http://www.gctcl.com/sites/default/files/Acetone.pdf