ฤทธิ์ต้านเบาหวานของแฝกหอม

ศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นแฝกหอม (Vertiveria zizanioides  L.) โดยทำการทดลองในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วยการฉีด alloxan monohydrate ขนาด 150 มก./กก. เข้าทางเส้นเลือดดำ จากนั้น 48 ชั่วโมง แบ่งหนูแรทออกเป็น 6 กลุ่ม (กลุ่มละ 6 ตัว) กลุ่มที่ 1 ป้อนด้วยน้ำเกลือ (normal saline) กลุ่มที่ 2 ป้อนด้วยยาต้านเบาหวาน glibenclamide ขนาด 10 มล./กก./วัน กลุ่มที่ 3, 4, 5 และ 6 ป้อนสารสกัดเอทานอลรากแฝกหอมขนาด 100, 250, 500 และ 750 มก./กก./วัน ตามลำดับ หลังจากป้อนยาและสารสกัดทำการเก็บตัวอย่างเลือดหนูในชั่วโมงที่ 0, 2, 4, 6, 8 และ 24 เพื่อตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่เปลี่ยนแปลงในระยะเฉียบพลัน จากนั้นเลี้ยงหนูต่อไปจนครบ 28 วัน และทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดในวันที่ 0, 2, 14, 16, 18 และ 24 ของการทดลอง ผลจากการทดลองพบว่าในระยะเฉียบพลัน การป้อนหนูด้วยสารสกัดเอทานอลรากแฝกหอมขนาด 750 มก./กก. มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดหนูลงในชั่วโมงที่ 2 และ 4 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และการป้อนสารสกัดเอทานอลรากแฝกหอมทุกขนาดมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดในวันที่ 7, 14, 21 และ 28 ของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลจากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แฝกหอมมีฤทธิ์ต้านเบาหวานได้

Asian J Chem 2013; 25(3): 1555-7