ฤทธิ์ต้านการหลั่ง และต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของกรดเชบูลินิคในผลสมอไทย

กรดเชบูลินิกในผลสมอไทยเมื่อนำมาทดสอบกับหนูแรทเกี่ยวกับฤทธิ์การป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูกลุ่มควบคุมป้อนด้วย 1% carboxymethyl cellulose 45 นาที ก่อนที่ให้จะเหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารด้วยความเย็น (cold restraint) แอสไพริน แอลกอฮอล์ และการผูกกระเพาะอาหารส่วน pyrolic กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ป้อนกรดเชบูลินิค จากผลสมอไทย ขนาด 20 มก./กก. 45 นาที ก่อนที่จะเหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ป้อนยาโอมิพราโซล ซึ่งเป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ขนาด 10 มก./กก. 45 นาที ก่อนที่จะเหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร เช่นกัน พบว่าหนูแรทกลุ่มที่ได้รับกรดเชบูลินิคสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยความเย็น แอสไพริน แอลกอฮอล์ และการผูกกระเพราะอาหารส่วน pyrolic เท่ากับ 62.9, 55.3, 80.67 และ 66.63% ตามลำดับ ในขณะที่ยาแผนปัจจุบันโอมิพราโซลสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยความเย็น แอสไพริน และการผูกกระเพราะอาหารส่วน pyrolic เท่ากับ 77.3, 58.3 และ 70.80% ตามลำดับ และเมื่อป้อนยาแผนปัจจุบัน sucrulfate ขนาด 500 มก./กก.ให้กับหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารด้วยแอลกอฮอล์ พบว่าสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เท่ากับ 65.67% นอกจากนี้กรดเชบูลินิคในสมอไทยสามารถลดสภาพความเป็นกรด ในส่วนของ free acidity และสภาพกรดรวม เท่ากับ 48.82% และ 38.29% ตามลำดับ และเพิ่มการหลั่งสารเคลือบ (mucin) ได้ 59.75% และการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า กรดเชบูลินิคสามารถยับยั้งเอนไซม์ hydrogen potassium ATPase ซึ่งเป็น enzyme ที่ทำหน้าที่ผลิตกรด โดยค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 65.01 มคก./มล. เมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันโอมิพราโซล ที่มีค่า IC50 ที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรด เท่ากับ 30.24 มคก./มล. จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่ากรดเชบูลินิคอาจมีศักยภาพในการใช้เป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหารได้

Phytomedicine 2013;20:506-11