ผลการรับประทานโสมแดงต่อภาวะความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยหมดประจำเดือน

การศึกษาผลของการรับประทานโสมแดงต่อความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในอาสาสมัครหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุระหว่าง 45-60 ปี จำนวน 72 คน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม (กลุ่มละ 36 คน) กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานแคปซูลโสมแดง 500 มก. (ประกอบด้วยสารสกัด ginsenosides 10 มก.) ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มที่สองให้รับประทานยาหลอก (กลุ่มควบคุม) เมื่อครบ 12 สัปดาห์ทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวัดค่าชีวเคมีในเลือดที่เปลี่ยนแปลงไป และวัดอาการที่เกิดจากภาวะหมดประจําเดือน เช่น อาการร้อนนวูบวาบ ด้วยการประเมินค่า Kupperman index และแบบสอบถาม Menopause Rating Scale (MRS) ผลการตรวจเลือดพบว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ รับประทานแคปซูลโสมแดง มีค่าคอเลสเตอรอล และ LDL-C (low density lipoprotein cholesterol) ในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่มีผลต่อระดับฮอร์โมน eatradiol ส่วนผลการประเมินผลแบบสอบถาม MRS และค่า Kupperman index ของอาสาสมัครกลุ่มที่รับประทานแคปซูลพบว่ามีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้เมื่อตรวจวิเคราะห์ความหนาของผนังหลอดเลือด (carotid intima media thickness) ด้วยวิธี CIMT พบว่าอาสาสมัครกลุ่มที่รับประทานแคปซูลโสมแดงมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โสมแดงมีฤทธิ์บรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือนและลดภาวะความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้

Menopause. 2012; 19(4): 461-6.