ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารอัลคาลอยด์ pyrroloquinazoline จากต้นโมรา

ต้นโมราเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการใช้พืชชนิดนี้ในการแพทย์อายุรเวทของอินเดียและการแพทย์ยูนานิ Unani (การแพทย์ท้องถิ่นและความเชื่อตามศาสนาอิสลาม ในดินแดนลุ่มน้ำเมโสโปเตเมีย) การศึกษานี้เป็นการวิจัยถึงฤทธิ์ของพฤกษเคมี สารเคมีที่พบในต้นโมราสกัดด้วยคลอโรฟอร์ม (Chloroform) ได้แก่ vasicine, vasicinone, vasicine acetate, 2-acetyl benzyl amine, vasicinolone มีฤทธ์ต้านการอักเสบและต้านแบคทีเรียการทดสอบ ฤทธิ์ต้านการอักเสบทดสอบโดยใช้คาราจีแนน (carrageenan) เหนี่วนำให้หนูทดลองเกิดการอักเสบและทำให้หนูทดลองถูกชักนำให้เกิดภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง Complete Freund's Adjuvant (CFA) ให้เกิดอาการบวมน้ำบริเวณอุ้งเท้า ส่วนฤทธิ์ต้านแบคทีเรียทดสอบโดยหาความไวของเชื้อ Microdilution Method ผลการทดสอบพบว่าสาร vasicine แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบมีประสิทธิภาพที่สุดที่ 59.51% ขนาดปริมาณสาร 20.0 mg/kg หลังจากฉีดสารคาราจีแนนให้เกิดการอักเสบไปแล้ว 6 ชั่วโมง ส่วน vasicinone แสดงผลการยับยั้งสูงสุดที่ 63.94% ความเข้นข้น 10.0 mg/kg ที่วันที่ 4 หลังหนูทดลองถูกชักนำให้เกิดการอักเสบด้วย CFA ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย vasicine แสดงฤทธิ์ดีที่สุดที่ความเข้มข้น 20µg/ml ต่อเชื้อ E.coli และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ C.albicans ได้สูงสุดที่ความเข้มข้น >55µg/ml จากการทดสอบแสดงให้เห็นว่า สารอัลคาลอยด์ทั้ง 5 ชนิดจากต้นโมรามีฤทธ์ในการต้านการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรีย

Phytomedicine 2013;20: 441-445