ผลของฟ้าทะลายโจร บัวบก และหญ้าหนวดแมว ต่อ cytochrome P450 2C19 (CYP2C19)

การศึกษาอัตรกิริยาของฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata  ; AP), บัวบก (Centella asiatica  ; CA) และหญ้าหนวดแมว (Orthosiphon stamineus  ; OS) โดยใช้ human cytochrome P450 2C19 (CYP2C19) ซึ่งเป็น hepatic CYP isoform หลักที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการออกฤทธิ์และการกำจัดยาหลายๆ ชนิดที่เข้าสู่ร่างกาย พบว่าสารสกัดเอทานอลของ AP และสารสกัดไดคลอโรมีเทนของ CA มีฤทธิ์ยับยั้ง CYP2C19 แบบ mixed type inhibition ในขณะที่สารสกัดเอทานอลของ CA และสารสกัดปิโตรเลียม OS มีฤทธิ์ยับยั้ง CYP2C19 แบบ competitively inhibition นอกจากนี้ยังพบว่า สาร eupatorin ซึ่งเป็นสารสำคัญในหญ้าหนวดแมว มีฤทธิ์ยับยั้ง CYP2C19 แบบ mixed type inhibition ด้วย จากผลการทดลองทำให้สามารถสรุปได้ว่า AP, CA และ OS มีฤทธิ์ยับยั้ง CYP2C19 ด้วยความแรงที่แตกต่างกัน โดย AP มีฤทธิ์อย่างอ่อน ในขณะที่สารสกัดไดคลอโรมีเทนของ CA และสาร eupatorin จากหญ้าหนวดแมวมีฤทธิ์อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้สมุนไพรบัวบกและหญ้าหนวดแมว ร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่อยู่ในกลุ่ม CYP2C19 substrates เช่น omeprazole, proguanil, barbiturates, citalopram, และdiazepam เนื่องจากอาจทำให้มีระดับยาในเลือดสูงจนเกิดอันตรายได้

J Ethnopharmacol 2011;133(2):881-7