ความเป็นพิษของสารสกัดลูกยอต่อระบบสืบพันธุ์

การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดลูกยอแห้งต่อระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ทดลอง โดยการป้อนสาร Estradiol (17 -α- ethynylestradiol) ขนาด 0.4 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ก่อนการป้อนสารสกัดลูกยอแห้งด้วยน้ำขนาด 7.5, 75 และ 750 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ตามลำดับให้หนูขาวเพศเมีย โดยป้อนติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน พบว่าสารสกัดลูกยอแห้งด้วยน้ำขนาด 7.5 และ 750 มก./น้ำหนักตัว1 กก. มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน และป้อนสารสกัดลูกยอแห้งด้วยน้ำขนาด 7.5, 75 และ750 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ในปริมาตร 5 มล./น้ำหนักตัว 1 กก. ให้หนูขาวเพศเมียในระยะตั้งครรภ์แห้งด้วยน้ำขนาด 7.5มก./น้ำหนักตัว1 กก. มีผลให้อัตราการคลอดลูกลดลง 50% และอัตราการสูญเสียตัวอ่อนหลังการฝังตัวเพิ่มขึ้น 74 เปอร์เซนต์ วันที่ 21 ของการตั้งครรภ์ทำการตัดมดลูกออกเพื่อศึกษาการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบภายในมดลูก โดยทำการศึกษาในอ่างเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่าสารสกัดลูกยอแห้งทุกขนาด ไม่มีผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบภายในมดลูก ซึ่งกระตุ้นด้วยสาร oxytocin 10 mUI และพบว่ามดลูกของหนูที่ได้รับสารสกัดลูกยอแห้งด้วยน้ำขนาด 7.5 มก./น้ำหนักตัว1 กก. มีผลลดการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบมดลูกลดลง 50% เมื่อกระตุ้นด้วยสาร arachidonic acid 0.3 mM

Journal of Ethnopharmacology 121 (2009) 229-233