สารสกัดเมล็ดฝอยทองรูปแบบ Nanoparticles ป้องกันความเป็นพิษต่อตับซึ่งเหนี่ยวนำด้วยสาร acetaminophen ในหนูขาว

การศึกษาฤทธิ์ป้องกันความเป็นพิษต่อตับและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมล็ดฝอยทองในรูปแบบ nanoparticles ซึ่งเตรียมด้วยวิธี “nanosuspension” เปรียบเทียบกับสารสกัดเมล็ดฝอยทองด้วยแอลกอฮอล์ โดยป้อนสารสกัดทั้ง 2 ชนิดในหนูขาวเป็นระยะเวลา 7 วันก่อนเหนี่ยวนำให้หนูเกิดความเป็นพิษต่อตับด้วยการฉีดสาร acetaminophen เข้าช่องท้อง พบว่าสารสกัดเมล็ดฝอยทองด้วยแอลกอฮอล์ขนาด 125 และ 250 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. และสารสกัดเมล็ดฝอยทองรูปแบบ nanoparticles ขนาด 25 และ 50 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. มีผลป้องกันความเป็นพิษต่อตับ โดยช่วยลดระดับเอนไซม์ aspartate aminotranferase, alanine aminotransferase และ alkaline phosphatase ซึ่งการตรวจสอบชิ้นเนื้อตับหนูขาวสนับสนุนผลการประเมินทางชีวเคมี

นอกจากนี้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมล็ดฝอยทองด้วยแอลกอฮอล์และของสารสกัดเมล็ดฝอยทองรูปแบบ nanoparticles ยังช่วยเพิ่มเอนไซม์ superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase และช่วยลด malondialdehyde อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ฤทธิ์การป้องกันความเป็นพิษต่อตับและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมล็ดฝอยทองรูปแบบ nanoparticles ขนาด 50 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. มีประสิทธิภาพดีกว่าสารสกัดเมล็ดฝอยทองด้วยแอลกอฮอล์ขนาด 125 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ซึ่งการป้อนในขนาด (50 มก./น้ำหนักตัว 1 กก.) น้อยกว่า 5 เท่าของสารสกัดด้วยแอลกอออล์ (250 มก./น้ำหนักตัว 1 กก.) จะให้ผลใกล้เคียงกัน

ดังนั้น เราสามารถนำรูปแบบการสกัด nanoparticle มาประยุกต์ใช้กับยาสมุนไพรตัวอื่นซึ่งละลายน้ำได้ยาก และช่วยลดขนาดของยาที่ทำการรักษาด้วย

Food and Chemical Toxicology 46 (2008) 1771-1777