ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระของมันแกว

สารสกัดไดคลอโรมีเทน, 95% เอทานอล และ 80% เอทานอลจากหัวมันแกว (Pachyrhizus erosus) ความเข้มข้น 0.14-0.47 มก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยสารสกัดไดคลอโรมีเทนจะมีฤทธิ์ดีที่สุด มีค่า IC50 เท่ากับ 2.08±0.40 มก./มล. รองลงมา คือ สารสกัด 95% เอทานอล และ 80% เอทานอล (IC50 10.90± 0.83 และ 24.31±1.058 มก./มล. ตมลำดับ) ขณะที่กรดโคจิก (kojic acid) ซึ่งเป็นสารมาตรฐานอ้างอิง มีค่า IC50 0.10±0.02 มก./มล. ในการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดทั้ง 3 ชนิด ด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัด ไดคลอโรมีเทนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด ค่า IC50 เท่ากับ 40±0.02 มคก./มล. แต่ฤทธิ์ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิตามินซี ซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 3.6±0.02 มคก./มล. เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและสาร ฟลาโวนอยด์รวมในสารสกัด พบว่าสารสกัด 80% เอทานอล มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมมากที่สุด เท่ากับ11.97±0.55 มก. สมมูลของกรดแกลลิก (gallic acid equivalent, GAE)/ก. สารสกัด และสารสกัดไดคลอโร-มีเทน มีปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวมมากที่สุด เท่ากับ 9.93±0.02 มก. สมมูลของเควอซิติน (quercetin equivalent, QE)/ก. สารสกัด สรุปว่าสารสกัดไดคลอโรมีเทนจากหัวมันแกว มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระได้ดี ซึ่งอาจจะนำมาพัฒนาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวขาวได้

Pharmacogn J. 2023;15(5):839-42.