ฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวจากผักบุ้งขัน

การศึกษาทางเคมีด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟฟี ได้แก่ NMR, UV, IR spectroscopic, และ MS ของสารสกัดไดคลอโรมีเทนจากรากของผักบุ้งขัน (Ipomoea asarifolia) พบสารสำคัญจำนวน 15 ชนิด ได้แก่ (4S,8S)-1-(furan-3-yl)-9-hydroxy-4,8-dimethylnonane-1,6-dione, isoferulic acid hexadecyl ester, caffeic acid hexadecyl ester, asarifolin I, 4-Hydroxycinnamic acid hexadecyl ester, 4-hydroxycinnamic acid octadecyl ester, 4-hydroxycinnamic acid eicosyl ester, caffeic acid octadecyl ester, pescapreins III, IV, XXI, XXIII, XXV, XXVI, และ stoloniferin III เมื่อนำสารทั้งหมดมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (multiple myeloma cell) ชนิด RPMI 8226 ด้วยวิธี XTT viability assay พบว่า สาร caffeic acid hexadecyl ester ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด รองลงมาคือสาร stoloniferin III, caffeic acid octadecyl ester, และ pescapreins IV โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 3.0, 7.7, 9.4, และ 10.8 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ แต่ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายามาตรฐาน bortezomib ซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 0.0045 ไมโครโมลาร์ แสดงให้เห็นว่า สารสำคัญจากรากของผักบุ้งขันอาจมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว

J Nat Prod. 2022;85:56-62. doi: 10.1021/acs.jnatprod.1c00649.