การรับประทานอะโวคาโดช่วยลดระดับตัวชี้วัดภาวะเสี่ยงหัวใจและเมตาบอลิกในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน

การศึกษาแบบไขว้สลับในอาสาสมัครที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน จำนวน 31 คน (ชาย 21 คน หญิง 18 คน) อายุ 25-60 ปี สลับให้รับประทานอาหารเช้า 3 แบบ คือ อาหารเช้าแบบควบคุม อาหารเช้าร่วมกับอะโวคาโดครึ่งผล (68 ก.) และอาหารเช้าร่วมกับอะโวคาโดเต็มผล (136 ก.) โดยเว้นระยะระหว่างการรับประทานอาหารเช้าแต่ละแบบครั้งละ 4 สัปดาห์ พบว่าระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือด และการขยายของเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือด (flow mediated vasodilation) ในอาสาสมัครที่ได้รับอาหารเช้าร่วมกับอะโวคาโดทั้งสองขนาดลดลงอย่างนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างการรับประทานอะโวคาโดครั้งละครึ่งผลกับเต็มผล อย่างไรก็ตามเฉพาะการรับประทานอะโวคาโดแบบเต็มผลเท่านั้นที่มีผลลดระดับไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มคอเลสเตอรอลชนิด HDL และลดระดับ tumor necrosis factor-alpha ซึ่งเป็นไซโตคายน์ที่เกี่ยวข้องกระบวนการอักเสบของร่างกายอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าปรับลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้อให้อาหาร และทดแทนด้วยการให้อะโวคาโดซึ่งเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ( MUFA, onounsaturated fat ) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( PUFA, Polyunsaturated fat ) ไฟเบอร์ วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ มีผลลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ซึ่งจะช่วยลดภาวะเสี่ยงหัวใจและเมตาบอลิกในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกินได้

Nutrients 2018;10:1287-302