ฤทธิ์ต้านอักเสบของสาร triterpenoids และ glycosides จากเปลือกทุเรียน

การศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสาร triterpenoids และสาร glycoside ซึ่งแยกได้จากเปลือกทุเรียนสุก (Durio zibethinus) ในเซลล์ RAW 264.7 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างสารก่อการอักเสบ nitric oxide (NO) ด้วยสาร lipopolysaccharides พบว่าสารในกลุ่ม triterpenoids เช่น 2α-trans-p-coumaroyloxy-2α,3β,23α-trihydroxy-olean-12-en-28-oic acid, oleanolic acid, 2α-hydroxyursolic acid และ ursolic acid และสารในกลุ่ม glycosides เช่น leonuriside A สามารถยับยั้งการสร้าง NO ด้วยค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 6.55±1.15, 9.48±2.23, 10.80±0.88, 3.39±0.80, และ 8.28±2.75 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ สารต่างๆ ดังกล่าวมีฤทธิ์ดีกว่ายาต้านอักเสบมาตรฐาน indomethacin ซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 51.90±4.50 ไมโครโมลาร์ โดยสาร ursolic acid มีประสิทธิภาพในการต้านการอักเสบได้ดีที่สุด จากผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสาร triterpenoids และสาร glycoside ซึ่งแยกได้จากเปลือกทุเรียนที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร มีโอกาสนำไปพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับบรรเทาอาการอักเสบได้

Food Chem. 2018;241:215–21.