ฤทธิ์ควบคุมน้ำตาลของน้ำมันงาขาว

การทดสอบฤทธิ์ควบคุมน้ำตาลของน้ำมันงาขาว (Sesamum indicum L.) โดยแบ่งหนูแรทออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มควบคุมให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 คือหนูแรทที่เป็นเบาหวานจากการเหนี่ยวนำด้วย streptozotocin แล้วให้กินอาหารปกติ หรือให้กินอาหารที่ส่วนผสมของน้ำมันงาขาวความเข้มข้น 12% ตามลำดับ ผลการเจาะเลือดเปรียบเทียบก่อนการทดลองไม่พบความแตกต่างของระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินของหนูกลุ่มที่ 2 และ 3 แต่เมื่อครบ 60 วัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูกลุ่มที่ได้รับน้ำมันงามีค่าเท่ากับ 202.1 ± 1.0 มก./ดล. ซึ่งต่ำกว่าหนูที่เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญ (298.0 ± 2.3 มก./ดล.) เช่นเดียวกับระดับอินซูลินในหนูกลุ่มน้ำมันงามีแนวโน้มที่ดีโดยพบว่า มีค่ามากกว่ากลุ่มที่เป็นเบาหวานและมีค่าใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้น้ำมันงายังมีผลทำให้ค่าชีวเคมีของตับ ไต และหัวใจที่ผิดปกติจากภาวะเบาหวานดีขึ้น การศึกษานี้จึงชี้ให้เห็นว่าน้ำมันงาอาจใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการควบคุมระดับน้ำตาลและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้

J Med Food 2017;20(5):448-57