ฤทธิ์คลายกังวลของน้ำมันหอมระเหยจากกระดังงาไทย

ศึกษาฤทธิ์คลายกังวลของกระดังงาไทย (Cananga odorata) ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยในการศึกษาแบบเฉียบพลัน ให้หนูเม้าส์สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาไทยที่ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 10% ตามลำดับ นาน 10 นาที จากนั้น 1 ชั่วโมงนำหนูไปทดสอบพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะเครียดและวิตกกังวลด้วยวิธี open field test (OF), elevated plus maze test (EPM) และ light and dark box test (LDB) ส่วนการศึกษาแบบเรื้อรัง ให้หนูเม้าส์สูดดมน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาที่ความเข้มข้น 1% นาน 10 นาที ติดต่อกัน 7 วันจากนั้นนำหนูไปทดสอบพฤติกรรมด้วยวิธี OF, EPM และ LDB เช่นเดียวกัน ผลจากการทดลองพบว่า การสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงามีฤทธิ์คลายความวิตกกังวลในหนูเม้าส์เพศผู้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ในขณะที่หนูเพศเมียให้ผลการทดสอบไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และจากการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยดอกกระดังงาด้วยวิธี gas chromatograph-mass spectrometer (GC/MS) พบว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คลายความกังวลคือ benzyl benzoate, linalool และ benzyl alcohol นอกจากนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์สารเคมีในสมองของหนูเม้าส์เพศผู้พบว่า การสูดดมน้ำมันหอมระเหยดอกกระดังงามีผลลดความเข้มข้นของ dopamine ในสมองส่วน striatum และเพิ่มความเข้มข้นของ 5-hydroxytryptamine (5-HT) ในสมองส่วน hippocampus ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงามีฤทธิ์คลายความกังวลในหนูเม้าส์เพศผู้ โดยมีผลกับวิถีประสาท 5-HTnergic และ DAnergic pathway

Phytomedicine. 2016; 23(14): 1727- 34.